หน้าเว็บ

หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2561

พระธาตุหนองสามหมื่น


           

              วัดพระธาตุหนองสามหมื่น ตั้งอยู่ที่ หมู่ 1 บ้านแก้ง ภูเขียว ชัยภูมิ วัดราษฎร์ เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญและน่าสนใจมากแห่งหนึ่งของชัยภูมิ ตั้งอยู่ที่บ้านแก้ง จากตัวเมืองชัยภูมิเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 201 ผ่านอำเภอภูเขียวไปจนถึงบ้านหนองสองห้องระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2055 อีก 9 กิโลเมตรถึงบ้านแก้งและแยกซ้ายไปวัดพระธาตุหนองสามหมื่นอีกประมาณ 5 กิโลเมตร พระธาตุหนองสามหมื่น เรียกชื่อตามหนองน้ำ ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัด เป็นพระธาตุที่มีลักษณะสวยงาม และสมบูรณ์ที่สุดองค์หนึ่ง ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใดแต่จากลักษณะทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่ปรากฏ เกิดจากการผสมผสานกันระหว่างศิลปล้านนา ล้านช้าง และอยุธยา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 ในสมัยพระไชยเชษฐาธิราชแห่งราชอาณาจักรลาว

           พระธาตุหนองสามหมื่นมีลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่บนฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความสูงประมาณ 45 เมตร มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน เหนือฐานเขียงเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายรองรับองค์พระธาตุ ซึ่งมีซุ้มทั้งสี่ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำพึง และปางลีลา ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า รูปแบบดังกล่าวอาจเปรียบเทียบได้กับพระธาตุอื่นๆ ทั้งในนครเวียงจันทน์และในเขตไทย เช่น พระธาตุวัดเทพพล เมืองเวียงคุก จังหวัดหนองคาย พระธาตุศรีเมือง นครเวียงจันทน์ เป็นต้น

          จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าบริเวณนี้เคยเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่สมัยทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 ปรากฏร่องรอยของคูน้ำ คันดิน และโคกเนินโบราณสถานหลายแห่ง โบราณวัตถุสำคัญที่พบทั้งในและนอกเขตคูเมืองหลายชิ้นได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่วัด เช่น กลุ่มใบเสมาหินทราย บางแผ่นก็มีจารึกอักษรปัลลวะภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-14 และมีแผ่นหนึ่งนำไปตั้งเป็นหลักเมืองประจำอำเภอภูเขียวด้วย นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมรูปเคารพอีก 2 ชิ้น สภาพชำรุดชิ้นหนึ่งคล้ายเศียรพระพุทธรูปนาคปรกในศิลปะขอมแบบบายน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18

          พระธาตุหนองสามหมื่น เป็นพระธาตุที่มีลักษณะสวยงามและสมบูรณ์ ที่สุดองค์หนึ่ง ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่จาก ลักษณะสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่ผสมผสานกันระหว่างล้านนา ล้านช้างและอยุธยา สันนิษฐานว่าสร้าง ขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒ ในสมัยพระไชยเชษฐาธิราชแห่งราชอาณาจักรลาว นอกจากนี้ บริเวณ ที่ตั้งพระธาตุหนองสามหมื่นแต่เดิม เคยเป็นเมืองโบราณสมัยทวาราวดีที่มีขนาดใหญ่เมืองหนึ่ง อายุราว พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖ เนื่องจากปรากฏร่องรอยของคูน้ำคันดิน และโคกเนินโบราณสถานหลายแห่ง รวมทั้งโบราณวัตถุหลายชิ้น เช่น กลุ่มใบเสมาหินทราย สันนิษฐานว่าเป็นเมืองขนาดใหญ่ ปรากฏในตำนานอุรังคนิทาน ว่ามีเมืองหนึ่ง อยู่ด้านทิศตะวันตกของเมืองหนองหาร ชื่อว่า อโยธยา หรือกุรุนทนคร โดยส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าจะเป็นแถบจังหวัดนครปฐม เพราะความหมายกำกวม ในที่นี้อาจจะเป็นเป็นเมืองกรุนทนคร ขึ้นตรงกับอาณาจักรทวารวดีก็อาจเป็นได้

มีซุ้มจระนำมีเสาติดผนัง ประดับด้วยลายกาบบนกาบล่างเป็นรูปสามเหลี่ยม



ยอดของพระธาตุหนองสามหมื่นเป็นทรงบัวเหลี่ยมคอดเว้าที่ส่วนล่างตามแบบศิลปะล้านช้าง ส่วนปลียอดหักหายไปแล้ว

ที่มา

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณ​สำหรับข้อมูลครับ​ ช่วยนำเสนอวัดกลาง​ เมืองเก่า(วัดไพรีพินาศ)​ด้วยครับ​ เห็นว่าเป็นใจกลางประเทศไทย​ วัดจากซ้ายไปขวา

    ตอบลบ