หน้าเว็บ

หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561

พระธาตุพนม



พระธาตุพนม
          เป็นปูชนียสถานสำคัญอันเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนริมสองฝั่งโขงและประชาชนทั่วไป  พระธาตุพนม ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒  หน้า ๓๖๘๗  ลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘  และกำหนดขอบเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา  เล่มที่ ๙๖  ตอนที่ ๑๖๐  หน้า ๓๒๑๗  ลงวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๒๒  มีพื้นที่ประมาณ ๑๗ ไร่ ๓ งาน ๕๖ ตารางวา
          องค์พระธาตุพนม  ตั้งอยู่ภายในวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร  ตำบลธาตุพนม  อำเภอธาตุพนม  จังหวัด นครพนม  สถานที่ตั้งขององค์พระธาตุเป็นเนินดินสูงกว่าบริเวณโดยรอบประมาณ ๒ เมตร  เนินดินอันเป็นที่ตั้งขององค์พระธาตุพนมนี้กล่าวเรียกในตำนานว่า ภูกำพร้าตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำโขง (ห่างประมาณ ๖๐๐ เมตร)  ทิศตะวันออก
ติดถนนชยางกูร (ถนนสายนครพนม-อุบลราชธานี)  ห่างจากถนนสายนี้ไปทางทิศ ตะวันออกจะพบบึงน้ำกว้างประมาณ ๓๐๐ เมตร ยาวขนานไปกับแม่น้ำโขง  เรียกกันในท้องถิ่นว่า บึงธาตุและเชื่อกันว่าบึงนี้ถูกขุดขึ้นในอดีตเพื่อนำเอาดิน ที่ได้มาปั้นอิฐก่อองค์พระธาตุพนมขึ้น
http://www.nkp2day.com/องค์พระธาตุพนม-ณ-วัดพระ-2/
การสร้างพระธาตุพนม
          ตามตำนานพระธาตุพนมกล่าวไว้ว่า  องค์พระธาตุพนมนี้สร้างครั้งแรกเมืองราว พ.ศ.๘  ขณะที่อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ กำลังเจริญรุ่งเรือง  โดยเจ้าผู้ครองนครในแคว้นต่าง ๆ ทั้ง ๕  มีพญาศรีโคตรบูรณ์ เป็นต้น  และพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์  ซึ่งมีพระมหากัสสปเถระเป็นประมุข  เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระมหากัสสปเถระนำมาจากอินเดียประดิษฐานไว้ข้างใน  อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ตามตำนานจะกล่าวว่าพระธาตุพนมถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๘  แต่จากหลักฐานทางโบราณคดีเท่าที่ปรากฏ  สันนิษฐานได้ว่าองค์พระธาตุพนมน่าจะถูกสร้างขึ้นในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒๑๔ หลักฐานสำคัญที่ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ คือ ภาพสลักอิฐแบบโบราณที่ประดับอยู่บริเวณส่วนเรือนธาตุของ
พระธาตุพนมอันมีลักษณะรูปแบบคล้ายศิลปะทวารวดีแบบฝีมือของช่างพื้นเมือง
          องค์พระธาตุพนมได้รับการบูรณะมาหลายครั้ง โดยเฉพาะตั้งแต่สมัยของพระเจ้าโพธิศาลราช แห่งอาณาจักรล้านช้าง (ราว พ.ศ.๒๐๗๒-๒๑๐๓) พระองค์ได้เสด็จลงมาบูรณะและสถาปนาวัดพระธาตุพนมขึ้นเป็นพระอารามหลวงจากนั้นเป็นต้นมาจึงได้เกิดเป็นประเพณีที่ผู้ครองอาณาจักรล้านช้างในสมัยต่อ ๆมาจะลงมาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระธาตุพนมเป็นประจำแทบทุกพระองค์
การบูรณองค์พระธาตุ
          การบูรณะครั้งสำคัญที่ควรกล่าวถึงคือ การบูรณะของท่านราชครูโพนสะเม็กจากเมืองเวียงจันทร์ เมื่อ พ.ศ.๒๒๓๓-๒๒๓๕ โดยช่างจากนครเวียงจันทร์ ในการบูรณะครั้งนี้ทำให้พระธาตุพนมได้รับอิทธิพลรูปแบบส่วนยอดมาจากพระธาตุหลวงที่นครเวียงจันทร์ ซึ่งน่าจะเป็นการกำหนดรูปแบบที่แน่นอนขององค์พระธาตุพนมตั้งแต่นั้นมา และได้กลายเป็นแบบฉบับของงานก่อสร้างองค์พระธาตุในภาคอีสานตอนบน          การบูรณะปรากฏอีกครั้งในปี พ.ศ.๒๔๔๔ พระอุมัชฌาย์ทา วิคบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์เลา กับคณะ ได้ธุดงค์มาถึงวัดพระธาตุพนม จึงคิดจะบูรณะปฏิสังขรณ์ จึงได้เชิญพระครูวิโรจน์รัตโนบล เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ทางการช่างมาซ่อม โดยได้ทำการกะเทาะปูนเก่าที่ชำรุดแล้วโบกใหม่ ทาสีประดับกระจก กระเบื้องเคลือบในที่บางแห่ง และลงรักปิดทองที่ยอด การบูรณะที่สำคัญอีกครั้ง ได้แก่ ในปี พ.ศ.๒๔๘๓ คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ รัฐมนตรีและอธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้นดำเนินการ ในการบูรณะพระธาตุครั้งนี้ได้
พระธาตุพังลงวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘
http://www.watthat.com/
ซ่อมแซมโดยเทคอนกรีตเสริมเหล็กจากส่วนเหนือฐานหรือพระธาตุชั้นที่ ๑ ขึ้นไปจนถึงยอดสุด แล้วต่อยอดให้สูงขึ้นไปอีก ๑๐ เมตร และเพิ่มฉัตรทองคำเหนือยอดองค์พระธาตุ (เฉพาะฉัตรทองคำที่ดำเนินการสร้างใหม่แทนฉัตรองค์เก่า สร้างแล้วเสร็จและนำไปประดิษฐานเมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗) การบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ คือ ในช่วงเดือนพฤษภาคม ๒๕๑๙ ถึง เดือนมีนาคม ๒๕๒๒ กรมศิลปากรได้ดำเนินการปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมขึ้นใหม่ภายหลังที่องค์พระธาตุพังทลายล้มทั้งองค์เมื่อวันที่
๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘
พระธาตุนมองค์เดิมก่อนพังทลาย
http://www.thatphanom.com
ลักษณะและที่ตั้ง
          สถูปอิฐพระธาตุพนมองค์เดิม ตั้งอยู่เกาะกลางสระน้ำหน้าวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร  ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากองค์พระธาตุพนมประมาณ ๒๐๐ เมตร และห่างจากริมฝั่งแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศลาวประมาณ ๒๕ๆ เมตร มีลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยม สูงจากระดับพื้น ประมาณ ๑๔ เมตร ตั้งอยู่บนฐานสูง ๖ เซนติเมตร ข้างในใช้เก็บรักษาเศษอิฐเศษปูนพระธาตุพนมองค์เดิม ซึ่งหักพังทลายลงในวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘ นอกจากนี้ ยังบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันตธาตุ พระพุทธรูป อัญมณี และวัตถุมงคลอื่น ๆ เป็นจำนวนมากอีกด้วย กรุสำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุพร้อมทั้งสิ่งของอันมีค่า ได้จัดทำขึ้นเป็นพิเศษ ส่วนกว้าง ๑.๕๐ เมตร ยาว ๒ เมตร สูง ๑.๕๐ เมตร 
การดำเนินการก่อสร้าง
          ก่อนอื่น ต้องย้อนไปดูเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นกับองค์พระธาตุพนมเมื่อ ๒๕ ปีล่วงแล้ว เราจึงจะรู้ที่ไปที่มาของเศษอิฐเศษปูนที่เก็บรักษาอยู่ในสถูปโดยแจ่มแจ้ง กล่าวคือ เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ เวลา ๑๙.๓๘ น. พระธาตุพนมซึ่งเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย และเป็นจุดศูนย์รวมแห่งการเคารพบูชาของชาวพุทธในลุ่มแม่น้ำโขงมาช้านาน
ประมาณ ๒, ๐๐๐ กว่าปี ได้หักพังทลายลงไปทางทิศตะวันออกทั้งองค์ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากพระธาตุช่วงล่างหรือช่วงที่หนึ่งเก่าแก่และชำรุดมาก ไม่สามารถทานน้ำหนักช่วงบนไว้ได้จึงเป็นเหตุให้หักพังลงมาดังกล่าวแล้ว  ทางรัฐบาลได้ดำเนินการก่อสร้างใหม่ในปีต่อมา โดยสร้างด้วยคอนกรีตครอบฐานองค์เดิมซึ่งยังเหลืออยู่ประมาณ  ๖ เมตร ก่อนจะลงมือก่อสร้าง  เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรร่วมกับทางวัดพระธาตุพนม โดยขนไปเก็บไว้ที่สนามด้านตะวันออก  หอพระนอนหรือหอพุทธไสยาสน์  ซึ่งอยู่นอกวิหารคตทางด้านเหนือองค์พระธาตุพนม เป็นการเก็บไว้ชั่วคราว ในขณะเดียวกันนั้นก็คัดเลือกเอาอิฐส่วนที่สมบูรณ์และมีลวดลายแยกไว้ต่างหาก อิฐจำนวนนี้ส่วนมาก ได้เก็บไว้ที่ที่วิหารคตทางทิศใต้องค์พระธาตุพนมทั้งนี้ เพื่อความสะดวกในการก่อสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่ ต่อมาเมื่อสร้างโครงพระธาตุด้วยคอนกรีตแล้วเสร็จ ก็ทำการตบแต่งด้วยลวดลาย  อิฐลวดลายที่คัดเลือกไว้ก่อนหน้านี้นั้นไม่สามารถนำไปปะติดปะต่อประกอบเป็นลวดลายได้ทั้งหมด ทำได้เป็นบางตอนที่ช่วงล่างเท่านั้น ทั้งนี้ เพราะพระธาตุพนมองค์ใหม่เล็กกว่าองค์เก่า คือ ที่ช่วงล่างหรือช่วงที่หนึ่งเล็กกว่าองค์เก่าหรือองค์เดิมด้านละประมาณ ๕  เซนติเมตร อีกประการหนึ่งอิฐลวดลายที่คัดเลือกไว้นั้นมีไม่ครบ ชำรุดและหายไปก็มาก ไม่สามารถนำมาต่อกันให้เป็นลวดลายได้  อิฐลายส่วนที่เหลืออยู่จำนวนหนึ่ง  เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรให้คนงานนำไปเก็บไว้ที่โรงเก็บพัสดุก่อสร้าง ซึ่งอยู่ด้านเหนือโรงเรียนพนมวิทยาคาร  ต่อมาได้รื้อถอนโรงเก็บพัสดุก่อสร้าง  ทางวัดพระธาตุพนมได้นำไปเก็บไว้ที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมรัตนโมลีศรีโคตบูร พ.ศ. ๒๕๒๕ หลังจากสร้างพระธาตุพนมแล้วเสร็จโดยสมบูรณ์เป็นเวลา ๓ ปีเศษ
ทางวัดได้ขนย้ายเศษอิฐเศษปูนของพระธาตุพนมองค์เดิม  ซึ่งกองรวมกันอยู่ที่สนามหญ้าทางตะวันออกหอพระนอน  เอาไปเก็บไว้ที่เกาะกลางสระน้ำหน้าวัดพระธาตุพนม พ.ศ.  ๒๕๓๕  ทางวัดพระธาตุพนมได้ขุดลอกสระน้ำหน้าวัด  ทางด้านใต้และด้านเหนือ ได้ตบแต่งขอบสระน้ำให้สวยงามและมั่นคงด้วยหินทรายทั้ง ๒ สระ  ในปีนั้นก็ได้มีโครงการจะสร้างสถูปอิฐพระธาตุพนมด้วย  แต่ไม่อาจดำเนินการได้  เพราะทุนทรัพย์ไม่พอ ส่กิวนทุนทรัพย์ที่มีอยู่ในขณะนั้น  ก็ได้เอาไปสร้างสิ่งที่จำเป็นกว่า ซึ่งจะต้องใช้โดยรีบด่วนเช่น  เมรุเผาศพ ศาลาบำเพ็ญกุศล และกุฏิที่พักพาอาศัยของพระภิกษุสามเณรเป็นต้น  แต่ได้รวบรวมเศษอิฐพระธาตุซึ่งยังกระจัดกระจายอยู่ในที่อื่นภายในวัด และที่อยู่ที่เกาะกลางสระน้ำหน้าวัดเอามากองพูนกันขึ้นเหมือนจอมปลวกสูงประมาณ ๕ เมตร เพื่อเตรียมก่อสร้างสถูปครอบภายหลัง  ได้ใช้อิฐก่อสร้างเป็นตัวอักษรไว้ที่ขอบสระ  เพื่อให้คนที่เดินทางผ่านไปมาได้รู้ว่าเรามีโครงการก่อสร้างสถูป  เพื่อเก็บรักษาอิฐพระธาตุพนมองค์เดิมไว้ไม่ให้สูญหาย  ตักอักษรที่ขอบสระมีอยู่ด้วยกัน ๓ ด้านคือ ด้านเหนือ ด้านตะวันออก และด้านใต้  มีใจความวว่า สถูปอิฐพระธาตุพนมองค์เดิมนอกจากนี้ ยังใช้อิฐก่อเป็นตัวเลขบอก พ.ศ. ที่ขุดลอกสระว่า ๒๕๓๕อีกด้วย
          จาก พ.ศ. ๒๕๓๕ จนถึง พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นเวลา    ปี  จึงได้ดำเนินการก่อสร้างเป็นองค์สถูปขึ้น  คุณปัฐวาท  สุขศรีวงศ์  กรุงเทพมหานคร  และคณะอันประกอบด้วย คุณศิริธัช  โรจนพฤกษ์  พล.โท ประวิตร  วงศ์สุวรรณ  เป็นต้น  มีศรัทธาเป็นเจ้าภาพบริจาคทุนทรัพย์ในการดำเนินการก่อสร้างทั้งหมดจำนวน ๒, ๖๒๐, ๐๐๐ (สองล้านหกแสนสองหมื่นบาทถ้วน) รายละเอียดในการก่อสร้างสถูกมีดังนี้  พระครูพนมธรรมโฆสิต (ดร. พระมหาสม  สุมโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร  โดยการอนุมัติของเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร  คือ  พระธรรมปริยัติมุนี  เป็นผู้ออกแบบก่อสร้าง 
โดยให้มีรูปทรงคล้ายกันกับองค์พระธาตุพนมยุคแรก  คือ  ยุค  พ.ศ.    หรือที่เรียกกันว่าพระธาตุพนมช่วงแรก ได้ว่าจ้างคนงานในถิ่นนี้มาทำจำนวน  ๓๐ คน  ให้นายสว่าง  ต้นเงิน  เป็นหัวหน้าควบคุมดูแลพระครูพนมธรรมโฆสิต  เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างทั้งหมด
          วันที่  ๑๘ พฤษภาคม  ๒๕๔๑  ก่อนลงมือทำการก่อสร้าง  ได้นิมนต์พระสงฆ์    รูป มาสวดพุทธมนต์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์  และหว่านหินลูกกรวดและทราย  ซึ่งทำการปลุกเสกดีแล้ว ในจุดที่จะทำการก่อสร้างฐานสถูปสูง  ๖๐เซนติเมตร  กว้างด้านละ  ๑๖  เมตร  องค์สถูปกว้างด้านละ  ๑๒  เมตร เทเสาด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กจำนวน  ๑๒  ต้น  มีคานยึด    แห่ง  เทคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นผนังด้านในสุด  สูง    เมตร  ใช้อิฐใหม่ก่อทาบผนังคอนกรีต  ใช้อิฐเก่าสลับอิฐใหม่ก่อทาบอีกชั้นหนึ่งระหว่างหนังอิฐใหม่และผนังอิฐเก่าผสมอิฐใหม่  ได้เทคอนกรีตเสริมเหล็กเชื่อมหนา  ๑๐  เซนติเมตร สรุปแล้วผนังสถูปมี    ชั้นคือ
       ๑.  ด้านในคอนกรีตเสรอมเหล็ก
       ๒. อิฐใหม่ก่อเรียงกันขึ้นตามแนวผนังคอนกรีต
       ๓. คอนกรีตเสริมเหล็กเชื่อมระหว่างผนังอิฐเก่าและอิฐใหม่
       ๔.  อิฐเก่าและอิฐใหม่เป็นผนังชั้นนอกสุด
ศิลปะและสถาปัตยกรรม
          สำหรับอิฐลวดลายองค์พระธาตุพนมองค์เดิม  ซึ่งเก็บรักษาอยู่ที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมรัตนโมลีศรีโคตรบูรนั้นได้นำมาก่อติดผนังด้านนอกทั้ง    ด้าน  เนื่องจากอิฐลวดลายที่คัดเลือกแล้วนั้นมีเหลืออยู่ไม่มาก  ที่ชำรุดและสูญหายไปก็มาก  จึงไม่สามารถประกอบเป็นลวดลายที่สมบูรณ์ได้เหมือนเดิม  อย่างไรก็ดี  อิฐลวดลายซึ่งมีอยู่ขณะนี้  ก็พอถือเอาเป็นข้อมูลในการศึกษาด้านโบราณคดีได้ เมื่อเทคอนกรีตและก่ออิฐสูง    เมตรแล้ว  จากนั้นก็ได้ก่อหลังคามุงไว้สูงประมาณ    เมตรสถูปรวมสูง ๑๔  เมตร  หรือจะเรียกว่า  “ อูบมุง) ก็ได้ไม่ผิด  หลังคามีลักษณะกลมเหมือนโอคว่ำ  ต่างแต่ยอดสุดมีรูปปั้นดอกบัว ๕ ดอกเท่านั้น รูปดอกบัวปั้นที่หลังคาทั้ง ๕ ดอกนั้น ๔ ดอกเป็นดอกบัวที่บานแล้ว อีกดอกยังตูมอยู่  ยังไม่บาน  ซึ่งก็มีความหมายดังนี้ ในภัททกัปนี้  มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ ๕ องค์ ๔ องค์ตรัสรู้ไปแล้ว  ปละปรินิพพานไปแล้ว  อันได้แก่  พระกกุสันธะ, พระโกนาคมนะ, พระกัสสปะ และพระโคตมะ  เหมือนดอกบัวที่บ้านแล้วและร่วงโรยไปแล้ว  อีกหนึ่งองค์  จะมาตรัสรู้ในภายหน้า  ในปลายภัททกัปนี้  ซึ่งได้แก่  พระศรีอริยเมตไตย์  เหมือนดอกบัวที่ยังตูมอยู่แต่จะบานในภายภาคหน้า
พระธาตุพนมองค์เดิมที่อยู่เกาะกลางสระน้ำ
http://www.watpamahachai.net/Document12_1.htm
          พระธาตุพนม เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนายุคแรกๆ ที่แพร่เข้ามาในบริเวณกลุ่มน้ำโขง และมีนักวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า พระธาตุพนมเป็นพระธาตุเจดีย์ที่เก่าแก่และมีความศักดิ์สิทธิ์สำคัญของลุ่มน้ำโขง ดังนั้นในส่วนนี้ เป็นการประมวลภาพพระธาตุพนมในแง่งานศิลปะสถาปัตยกรรมที่ปรากฏอยู่บนองค์พระธาตุพนม
รูปทรงดั้งเดิมของพระธาตุพนม
          ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียรภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร อธิบายในหนังสือ ๕ มหาเจดีย์สยาม จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส ไว้ว่า รูปทรงดั้งเดิมของพระธาตุพนมอาจเป็น ปราสาทเขมร-จาม กว่าที่รูปทรงขององค์พระธาตุพนมจะเป็นอย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ องค์พระธาตุพนมได้ถูกสร้างเสริมและต่อเติมมาหลายครั้งหลายสมัย
          โดยนักวิชาการสันนิษฐานว่ารูปแบบดั้งเดิมเมื่อแรกสร้างน่าจะมีรูปทรงปราสาทเขมร ที่สร้างขึ้นในสมัยก่อนเมืองพระนคร มีชื่อเรียกว่าแบบ ไพรกเมง-กำพงพระ เนื่องจากปราสาทที่สร้างในช่วงสมัยนี้มักทำเรือธาตุเป็นห้อง ก่ออิฐเรียบ มีการประดับด้วยเสากลมที่วางคั่นอยู่เป็นระยะ ๆ บัวหัวเสาทำเป็นรูปกลม ซึ่งเหมือนกับที่พบในส่วนเรือนธาตุขององค์พระธาตุพนมนั่นเอง หรือไม่เช่นนั้นก็อาจมีรูปร่างคล้ายกับปราสาทในศิลปะจาม ที่สร้างในสมัยฮั่วล่าย (Hoa-Lai) และ ดงเดือง (Doug Doung) ซึ่งเคยรุ่งเรืองอยู่ในประเทศเวียดนาม เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ คือ กว่าพันปีมาแล้วก็เป็นได้ เนื่องจากเสาติดผนังขององค์พระธาตุพนมมีแถบลวดลายประดับอยู่ตรงกลางเสา เหมือนกับที่พบตามปราสาทในศิลปะจามเป็นอย่างมาก การที่พระธาตุพนมอาจเคยมีรูปแบบคล้ายคลึงกับปราสาทจามนี้ ไม่ถือเป็นเรื่องแปลกอย่างใดเลย เนื่องจากที่ตั้งของพระธาตุพนมอยู่บนเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อระหว่างชุมชนโบราณในกลุ่มน้ำโขงตอนกลางของลาวกับช่องเขาที่ออกไปยังอาณาจักรจามปาในประเทศเวียดนามได้ ดังนั้นในบริเวณนี้ จึงอาจมีการแลกเปลี่ยนหรือรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากศิลปะจามได้ไม่ยากนักปราสาทฮั่วลายหลังเหนือ ศิลปะจาม


อ้างอิง
เทพโมลี, พระ .ประวัติย่อพระธาตุพนม วัดพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : เฟื่องอักษร, 2516
https://missmamyna 1.wordpress.com/ พระธาตุพนมองค์เดิม
http://www.finearts.go.th/fad10/parameters/km/item/พระธาตุพนม.html
http://www.watpamahachai.net/Document12_1.htm
 http://www.watthat.com/