หน้าเว็บ

หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2561

พระธาตุหนองสามหมื่น


           

              วัดพระธาตุหนองสามหมื่น ตั้งอยู่ที่ หมู่ 1 บ้านแก้ง ภูเขียว ชัยภูมิ วัดราษฎร์ เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญและน่าสนใจมากแห่งหนึ่งของชัยภูมิ ตั้งอยู่ที่บ้านแก้ง จากตัวเมืองชัยภูมิเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 201 ผ่านอำเภอภูเขียวไปจนถึงบ้านหนองสองห้องระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2055 อีก 9 กิโลเมตรถึงบ้านแก้งและแยกซ้ายไปวัดพระธาตุหนองสามหมื่นอีกประมาณ 5 กิโลเมตร พระธาตุหนองสามหมื่น เรียกชื่อตามหนองน้ำ ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัด เป็นพระธาตุที่มีลักษณะสวยงาม และสมบูรณ์ที่สุดองค์หนึ่ง ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใดแต่จากลักษณะทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่ปรากฏ เกิดจากการผสมผสานกันระหว่างศิลปล้านนา ล้านช้าง และอยุธยา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 ในสมัยพระไชยเชษฐาธิราชแห่งราชอาณาจักรลาว

           พระธาตุหนองสามหมื่นมีลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่บนฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความสูงประมาณ 45 เมตร มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน เหนือฐานเขียงเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายรองรับองค์พระธาตุ ซึ่งมีซุ้มทั้งสี่ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำพึง และปางลีลา ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า รูปแบบดังกล่าวอาจเปรียบเทียบได้กับพระธาตุอื่นๆ ทั้งในนครเวียงจันทน์และในเขตไทย เช่น พระธาตุวัดเทพพล เมืองเวียงคุก จังหวัดหนองคาย พระธาตุศรีเมือง นครเวียงจันทน์ เป็นต้น

          จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าบริเวณนี้เคยเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่สมัยทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 ปรากฏร่องรอยของคูน้ำ คันดิน และโคกเนินโบราณสถานหลายแห่ง โบราณวัตถุสำคัญที่พบทั้งในและนอกเขตคูเมืองหลายชิ้นได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่วัด เช่น กลุ่มใบเสมาหินทราย บางแผ่นก็มีจารึกอักษรปัลลวะภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-14 และมีแผ่นหนึ่งนำไปตั้งเป็นหลักเมืองประจำอำเภอภูเขียวด้วย นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมรูปเคารพอีก 2 ชิ้น สภาพชำรุดชิ้นหนึ่งคล้ายเศียรพระพุทธรูปนาคปรกในศิลปะขอมแบบบายน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18

          พระธาตุหนองสามหมื่น เป็นพระธาตุที่มีลักษณะสวยงามและสมบูรณ์ ที่สุดองค์หนึ่ง ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่จาก ลักษณะสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่ผสมผสานกันระหว่างล้านนา ล้านช้างและอยุธยา สันนิษฐานว่าสร้าง ขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒ ในสมัยพระไชยเชษฐาธิราชแห่งราชอาณาจักรลาว นอกจากนี้ บริเวณ ที่ตั้งพระธาตุหนองสามหมื่นแต่เดิม เคยเป็นเมืองโบราณสมัยทวาราวดีที่มีขนาดใหญ่เมืองหนึ่ง อายุราว พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖ เนื่องจากปรากฏร่องรอยของคูน้ำคันดิน และโคกเนินโบราณสถานหลายแห่ง รวมทั้งโบราณวัตถุหลายชิ้น เช่น กลุ่มใบเสมาหินทราย สันนิษฐานว่าเป็นเมืองขนาดใหญ่ ปรากฏในตำนานอุรังคนิทาน ว่ามีเมืองหนึ่ง อยู่ด้านทิศตะวันตกของเมืองหนองหาร ชื่อว่า อโยธยา หรือกุรุนทนคร โดยส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าจะเป็นแถบจังหวัดนครปฐม เพราะความหมายกำกวม ในที่นี้อาจจะเป็นเป็นเมืองกรุนทนคร ขึ้นตรงกับอาณาจักรทวารวดีก็อาจเป็นได้

มีซุ้มจระนำมีเสาติดผนัง ประดับด้วยลายกาบบนกาบล่างเป็นรูปสามเหลี่ยม



ยอดของพระธาตุหนองสามหมื่นเป็นทรงบัวเหลี่ยมคอดเว้าที่ส่วนล่างตามแบบศิลปะล้านช้าง ส่วนปลียอดหักหายไปแล้ว

ที่มา

วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2561

โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล

         

โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล (อังกฤษ: Chaiyabhumbhakdeechumphon School) เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดชัยภูมิ เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบโรงเรียนสหศึกษา และเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ คำว่า ชัยภูมิภักดีชุมพล มาจากคำสองคำคือ ชัยภูมิ คือชื่อจังหวัดอันเป็นที่ตั้งของโรงเรียน และ ภักดีชุมพล มาจากบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองคนแรกของจังหวัดชัยภูมิ หรือ พระยาภักดีชุมพล โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพลก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งพระองค์ทรงมีพระราชการะแส "อนุโมทนา"[3] กับการก่อตั้งโรงเรียนซึ่งปัจจุบันในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2445 [4]โรงเรียนจึงถือให้วันที่ 25 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปณาโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล ปัจจุบันพระราชกระแสต้นฉบับได้เก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑ์โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพลและท้องถิ่น ศูนย์เรียนรู้ไทยภัณฑ์ พร้อมด้วยเอกสารการรับบริจาคเงินเรี่ยรายในปี พ.ศ. 2444

ยุคเริ่มแรกของโรงเรียน
          ปี พ.ศ. 2447 ได้สร้างอาคารเรียนขึ้น ณ วัดชัยประสิทธิ์เพื่อขยายการเรียนการสอนวัดชัยประสิทธิ์ หรือ วัดสะแก ซึ่งในปี พ.ศ. 2435 ยังเป็นวัดร้างอยู่ พระประสิทธิ์ได้มาบูรณะซ่อมแซมขึ้นใหม่ จึงขนานนามวัดใหม่ตามชื่อของท่านว่า "วัดประสิทธิ์" และในปี พ.ศ. 2439 ได้ทำการสอนปริญัติธรรมซึ่งมีกำหนดไม่แน่นอนและเป็นการสอนทางธรรมเสียมากกว่า ต่อมา ประมาณปี พ.ศ. 2442 พระยาหฤทัยราชเดช เจ้าเมืองชัยภูมิสมัยนั้นได้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นที่วัดชัยประสิทธิ์ โดยอาศัยศาลาการเปรียญเป็นห้องเรียน ได้แบ่งชั้นเรียนออกเป็นประโยค 1-2 ประโยค 1 มีชั้น ป.1 กับ ป.2 ประโยค 2 มี ป.3 กับ ป.4 เมื่อเรียนสำเร็จประโยค 2 (หากจะเทียบกับปัจจุบันก็คือ มัธยมศึกษาปีที่ 3) ปฐมอาจารย์แห่งโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพลคือ อาจารย์เกิด มีตำแหน่งเป็นครูใหญ่ กับครูน้อยอีก 1 คนคือ อาจารย์คำ ต่อมาอาจารย์เกิดซึ่งเป็นครูใหญ่ได้ลาออกไปเป็นเสมียนมหาดไทยจังหวัดนครราชสีมา อาจารย์เปล่ง (ซึ่งเป็นพระภิกษุ) เป็นครูน้อยแทนอาจารย์คำ ขณะนั้นอาจารย์เปล่งครูใหญ่ได้เลื่อนตำแหน่งทางพระเป็นพระวินัยธรรม ประมาณปี พ.ศ. 2446 มีครูเพิ่มขึ้นอีก 3 คนคืออาจารย์หรั่ง อาจารย์จ้อย และนายดาบอิน เมือได้เป็นครู 1 ปีอาจารย์หรั่ง ขอลาออกไปเรียนต่อที่กรุงเทพมหานคร อาจารย์ทับเป็นครูน้อยแทนอาจารย์หรั่ง

ปฐมกาลแห่งการสถาปนา (พ.ศ. 2442 - พ.ศ. 2445)
          ภัยจากการคุมคามของประเทศมหาอำนาจในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 หรือปลายพุทธศตวรรษที่ 24 ลัทธิจักรวรรดินิยมกำลังแผ่ขยายมายังประเทศต่างๆ ในเอเชียซึ่งประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่าญวน เขมรและมลายูเป็นต้น ต่างตกอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศมหาอำนาจ ส่วนประเทศไทยมีจุดอ่อนทั้งในเรื่องความล้าหลัง ระบบการปกครองและการกำหนดเขตแดนที่ชัดเจนพระองค์จึงทรงห่วงใยบ้านเมืองจึงดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบประนีประนอมและเร่งปรับปรุงประเทศ โดยเน้นการ ศึกษาของชาติ
          โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพลก็เป็นส่วนหนึ่งของยุคปฏิรูปการศึกษาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเช่นกัน โดยในยุคแรกได้ใช้ศาลาการเปรียญของวัดชัยประสิทธิ์ (วัดสะแก) ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านหนองบ่อ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ เมื่อปี พ.ศ. 2442 วัดสะแก หรือวัดชัยประสิทธิ์ ( วัดประสิทธิ์ ) เดิมเป็นวัดร้าง พระประสิทธิ์ได้มาซ่อมแซมบูรณะขึ้นใหม่ราวปี พ.ศ. 2432 และได้ขนานนามวัดใหม่ตามนามของท่านว่า วัดชัยประสิทธิ์ต่อมาพระประสิทธิ์ได้ทำการสอนพระปริยัติธรรมแก้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่สนใจในพระพุทธศาสนา ซึ่งนับเป็นการเรียนการสอนยุคแรกของโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล
          เมื่อปี พ.ศ. 2442 พระหฤทัย (บัว) ผู้รั้งผู้ว่าราชการจังหวัด (ดำรงตำแหน่งระหว่าง : พ.ศ. 2442 – 2444) เจ้าเมืองชัยภูมิได้ตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรกของจังหวัดชัยภูมิขึ้นที่วัดชัยประสิทธิ์ตามพระบรมราโชบายปฏิรูปการศึกษาหัวเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร และความต้องการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติโดยได้ออก "ประกาศจัดการเล่าเรียนในหัวเมือง" เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 ความว่า 

ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดแต่ความประพฤติชอบ และการเลี้ยงชีวิตโดยชอบเป็นที่ตั้ง ครั้นทั้งหลายจะประพฤติชอบ แลจะหาเลี้ยงชีวิตโดยชอบนั้นเล่า ก็ย่อมอาศัยการได้ศึกษาวิชา ความรู้ ในทางที่จะให้บังเกิดประโยชน์ มาแต่ย่อมเยาว์ และฝึกซ้อมสันดานให้น้อยในทางสัมมาปฏิบัติและเจริญปัญญา สามารถในกิจการต่างๆ อันเป็นเครื่องประกอบการหาเลี้ยงชีพเมื่อเติบใหญ่ จึงเชื่อว่าได้เข้าสู่ทางความเจริญบัดนี้การฝึกสอนในกรุงเทพฯ เจริญแพร่หลายมากขึ้นแล้ว สมควรจะจัดการฝึกสอนให้หัวเมืองได้เจริญขึ้นตามกัน

          ในการจัดการศึกษาขั้นต้นตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาลสยามในสมัยนั้น พระหฤทัย (บัว) ได้มีนโยบายในการจัดการศึกษาในจังหวัดเพื่อตอบสนองความต้องการของนโยบายรัฐบาลนั้นได้จัดการศึกษาขึ้นที่วัดชัยประสิทธิ์ โดยมอบหมายให้พระครูจรูญ นิโรธกิจ เป็นผู้จัดการเรียนการสอนขึ้น โดยมีนายพรหมมา และนายป้อมเป็นครูผู้สอน ในปี พ.ศ. 2442 ณ ศาลาการเปรียญวัดชัยประสิทธิ์เปิดสอนในประโยค 1 – 2 โดยประโยค 1 มีชั้น ป.1 และ ป.2 ประโยค 2 คือชั้น ป.3 และ ป.4 เมื่อสำเร็จชั้นประโยค 2 ถือว่าสำเร็จชั้นสูงสุดการศึกษาภายในจังหวัดชัยภูมิ ในต้นปี พ.ศ. 2445 ที่มีนักเรียนเป็นจำนวนมากซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นบุตร ธิดาของบรรดาข้าราชการ คหบดี พ่อค้า ประชาชนทั่วไป ในจังหวัดชัยภูมิ ต่อมาในปีกลาง พ.ศ. 2445 โรงเรียนวัดประสิทธิ์มีนักเรียนทั้งบรรพชิต และคฤหัสถ์ศึกษาเล่าเรียนรวมทั้งสิ้น 100 คน มีครูเพียง 1 คน ซึ่งที่นั่งนักเรียนไม่เพียงพอที่จะจัดการเรียนการสอน ผู้รั้งผู้ว่าราชการจังหวัด หลวงพิทักษ์นรากร ได้เห็นถึงปัญหาการขาดแคลนสถานที่จัดการเรียนการสอนและจำนวนครูผู้สอนไม่เพียงพ่อต่อนักเรียนกอปรกับ ในปี พ.ศ. 2445 การปฏิรูปการศึกษาของประเทศนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง ประกาศใช้ พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ซึ่งในแง่มุมของการศึกษา ถือเป็นการแบ่งงานระหว่างพระสงฆ์กับกรมศึกษาธิการ โดยพระสงฆ์จะจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษา ส่วนในระดับสูงกว่าเป็นหน้าที่ของกรมศึกษาธิการ จึงมีการรวบรวมรายชื่อโรงเรียนเพื่อจัดทำทะเบียนโรงเรียนหลวงขึ้น หลวงพิทักษ์นรากร จึงรวบรวมเงินบริจาคจากข้าราชการในจังหวัดชัยภูมิเพื่อปรับปรุงโรงเรียนเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมีผู้บริจาคทั้งสิ้น 166 บาท 8 อัฐ เงินจำนวนนี้นับเป็นเงินบำรุงสถานศึกษาชุดแรกที่ก่อให้เกิดการพัฒนาและส่งเสริมการศึกษาในจังหวัดชัยภูมิโดยเงินจำนวนดังกล่าวได้นำไปจ้างครูเพิ่มอีก 2 คน คนละ 5 บาทต่อเดือนคงเหลือเงิน 22 บาท 08 อัฐ ได้นำไปซื้อม้านั่งสำหรับเรียนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2442
          2 ธันวาคม ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445) หลวงพิทักษ์นารากร ผู้รั้งผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิได้เสนอชื่อโรงเรียนวัดประสิทธิ์ไปยังกระทรวงมหาดไทยและได้เสนอก่อตั้งเป็นโรงเรียนหลวงขึ้นพร้อมรายนามข้าราชการที่บริจาคเงินบำรุงโรงเรียนวัดประสิทธิ์
          12 ธันวาคม ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445) พระยาศรีสหเทพ ราชปลัดทูลฉลอง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้เสนอขอตั้งโรงเรียนไปยังพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ปลัดกระทรวงธรรมการ และได้เสนอต่อไปยังสำนักราชเลขานุการได้นำความกราบบังคมทูล พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสมมตอมรพันธ์ โดยมีเนื้อความว่า
ที่ ๒๑๙ / ๖๗๑๒
วันที่ ๒๕ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๑
ข้าพระพุทธเจ้า พระยาวุฒิการบดี ขอประทานกราบทูล พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสมมตอมรพันธ์ ทราบฝ่าพระบาท ด้วยกระทรวงมหาดไทยมีหนังสือส่งบาญชีรายชื่อข้าราชการเมืองไชยภูมิ คือจัดหาจ้างครูขึ้นอีก ๒ คนและสร้างม้านั่ง สำหรับนั่งเพิ่มขึ้นอีกด้วย ได้คัดสำเนากระทรวงมหาดไทยและบาญชีรายชื่อส่งมาถวายในนี้แล้วด้วย ถ้ามีโอกาสอันควร ขอฝ่าพระบาทได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า
(ลงชื่อ) พระยาวุฒิการบดี

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
ในวันเดียวกันความถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระองค์ทรงมีพระราชกระแสลายพระหัตถ์รับสั่ง อนุโมทนา
ในวันที่ ๒๗ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๑ พระยาวุฒิการบดี ได้แจ้งเรื่องผ่านทางกรมราชเลขานุการด้วยหนังสือ ที่ 67 / 2029 ความว่า
กรมราชเลขานุการ
วันที่ ๒๗ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๑
เรียน พระยาวุฒิการบดี ได้รับหนังสือที่ ๒๑๙/๖๗๑๒ ลงวันที่ ๒๕ เดือนนี้ เรื่องข้าราชการเมืองไชยภูมิได้ออกเงินเรี่ยไรบำรุงโรงเรียนวัดประสิทธิ์ เมืองไชยภูมิ ดังบาญชีรายชื่อที่ส่งมาแล้วนั้น ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว โปรดเกล้าให้แจ้งความมาว่า ทรงอนุโมทนาในส่วนกุศลนี้ด้วยฯ
          ยุคแรกแห่งแสงอรุณทางการศึกษาของโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล และชาวชัยภูมิได้เริ่มต้นขึ้น และในยุคนี้ได้ถูกขนานนามว่า ยุคสถาปนา

ช่วงบุกเบิกการศึกษาโดยคณะภิกษุสงฆ์ (พ.ศ. 2445 - พ.ศ. 2452)
          หลังจากโรงเรียนก่อตั้งได้ไม่นาน พระอาจารย์จรูญ นิโรธกิจ (เจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ) ก็ต้องย้ายไปรับราชการในระดับเขตการศึกษา เพื่อควบคุมการศึกษาภาษาไทยในเมืองชัยภูมิ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นพัฒนาการทางการสอนที่เท่ากัน และเท่าเทียม สำหรับผู้ชายและผู้หญิงนั้นสามารถศึกษาได้อย่างเท่าเทียม ทางราชการได้แต่งตั้งพระอาจารย์เกิดมาเพื่อรับตำแหน่งแทนพระครูจรูญ นิโรธกิจซึ่งรับราชการในระดับที่สูงขึ้น การศึกษาในยุคนี้มิได้เน้นวิชาสมัยใหม่เหมือนในกรุงเทพมหานคร อต่เป็นการสอนการเขียน การอ่านภาษาไทย การเรียนวิชาในพุทธศาสนา และการสอนนั้นเน้นไปในทางปริญัติธรรมเสียส่วนใหญ่

ช่วงบุกเบิกการศึกษาโดยฆราวาส (พ.ศ. 2452 - พ.ศ. 2478)
          ในยุคนี้ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็นครูใหญ่ผู้บุกเบิกคือ นายมนู นาคามดี ครูใหญ่ผู้บุกเบิกโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล ซึ่งตามประวัติที่มีการจดบันทึกไว้จากการบอกเล่าของ นงไฉน ปริญญาธวัช (ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณกรรมปี พ.ศ. 2555) บุตรสาวของนายหนู นาคามดี นายหนู ต้องเดินทางมายังโรงเรียนชัยภูมจากจังหวัดนครราชสีมาด้วยระยะทางเพียง 100 กิโลเมตรเศษโดยใช้เวลา 5 วัน 5 คืน ซึ่งในขณะนั้นจังหวัดชัยภูมินับว่าเป็นดินแดนที่ "กันดาร" ตามคำบอกเล่าของบุตรสาวและได้ขยายโรงเรียนแห่งใหม่โดยซื้อที่ดินคืนจากชาวบ้านที่มาทำนา ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนมาจนถึงปัจจุบัน ในอดีตไม่มีใครอยากจะมาเป็นข้าราชการที่จังหวัดอันห่างไกลแห่งนี้ แต่นายหนู เดินทางมาด้วยความมานะอุตสาหะ ด้วยความไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก นายหนูได้รับยกย่องให้เป็นครูสอนวิชาภาษาอังกฤษคนแรกของจังหวัดชัยภูมิอีกด้วย ในวัยก่อนเกษียนท่านได้รับคำนำหน้าชื่อเป็น รองอำมาตย์ตรี มนู นาคามดี นับว่าเป็นสิ่งที่แสดงความตั้งใจในการทำงานและเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงมานะอุตสาหะของครูผู้บุกเบิกผู้นี้

ช่วงแห่งผู้บริหารจาก "ธรรมศาสตร์" (พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2494)
          ยุคแห่งผู้บริหารจาก "ธรรมศาสตร์" ในยุคนี้มีผู้อำนวยการถึง 3 คนที่จบปริญญาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ นายกุหลาบ ประภาสโนบล นายทอง พงศ์อนันต์ และนายชะลอ ปทุมานนท์ ซึ่งล้วนแล้วแต่นำสิ่งใหม่ๆมาสู่โรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นสีประจำโรงเรียน (เหลืองแดง) ต้นไม้ที่ปลูกรอบโรงเรียนล้วนได้รับอิทธิพลจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แม้กระทั่งตราโรงเรียนยุคแรกก็ยังได้รับอิธิพลจากตราธรรมจักรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการตีพิมพ์วารสารโรงเรียนขึ้นเป็นครั้งแรกโดยได้รับความร่วมมือจากกระทรวงและเป็นการกำหนดหลักสูตรให้กับโรงเรียนโดยรอบจังหวัดผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์ซึ่งถือว่าเป็นสื่อที่ทันสมัยในยุคนั้น
          สืบเนื่องจากนโยบายทางการศึกษาของรัฐบาลใหม่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงแยกโรงเรียนออกเป็นชายล้วนและหญิงล้วนในระหว่างช่วงนี้โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพลได้แยกนักเรียนหญิงในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นไปยัง โรงเรียนสตรีชัยภูมิ และได้ทำการสอนนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตามปกติจนกระทั่งปี พ.ศ. 2483 โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพลจึงกลายโรงเรียนชายล้วนอย่างสมบูรณ์

ช่วงแห่งการพัฒนา (พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2500)
          การพัฒนาทั้งทางด้านการศึกษา พัฒนาด้านการเรียนการสอน อาคารเรียนและบุคลากรทางการศึกษา มีนักเรียนรุ่นที่จบไปแล้วเริ่มมารับราชการครูในโรงเรียนที่ตนเคยศึกษา การเรียนการสอนถูกปรับปรุงให้ทันสมัยเข้าสู่ยุคและสังคมที่ทันสมัยขึ้น บริเวณโรงเรียนและอาคารเรียนมีมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามกระแสของการตื่นตัวทางการศึกษาของคนไทยในยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง นโยบายทางการศึกษาใหม่ๆ ทำให้มีการส่งเสริมการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่รู้จักกันในนาม โรงเรียนชัยภูมิ โรงเรียนประจำจังหวัดชัยภูมิ และยุคนี้คือ "ยุคแห่งการพัฒนา" ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 โรงเรียนได้งบประมาณสร้างบ้านพักครูหนึ่งหลังเป็นเงิน 25,000 บาท ซึ่งได้สร้างทางทิศตะวันออกของสระพัง สร้างแล้วเสร็จให้นายวินิช เวชสัสถ์ ครูโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพลขึ้นอยู่อาศัย เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2497 ในปีนี้โรงเรียนได้ขยายโรงอาหารออกไปทางทิศใต้และทิศตะวันออก เพื่อใช้เป็นสถานที่ประชุม โดยเงินสะสมเพื่อสร้างโรงอาหารของโรงเรียนเป็นเงิน 8,225.05 บาท แต่นักเรียนมีมากถึง 500 คนทำให้ที่ประชุมคับแคบไป ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2498 โรงเรียนได้จัดหาวัสดุมาสร้างบ้านพักครูอีกหลังหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของสระพัง เป็นบ้านทรงปั้นหยา 2 ห้องมีระเบียงสองข้าง และมีนอกชาน ต่อจากนี้มีห้องครัว 2 ห้อง ห้องส้วมอยู่บนบ้านสร้างขึ้นไม่มีงบประมาณ แต่อาศัยเงินบำรุงจำนวน 4,271.71 บาท สร้างเสร็จให้นายบุญเรือน แช่มชื่น ครูสอนแตรขึ้นอยู่อาศัยแต่นายบุญเรือง แช่มชื่น ลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2489 จึงให้นายมงคล ประภาสโนบล อยู่แทน

ช่วงแห่งความมั่นคง (พ.ศ. 2500 - พ.ศ. 2532)
          ในยุคนี้โรงเรียนที่มีอายุมากถึง 50 ปีเป็นตัวชี้ศักยภาพทางการศึกษา มีเหตุการณ์ที่แสดงความสามารถการันตีความเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด ไม่ว่าจะมีระดับชั้นการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในจังหวัดที่เตรียมตัวเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา การจัดทำหนังสืออนุสรณ์ การสร้างถนนในโรงเรียน การเตรียมการสำหรับแนวการศึกษาใหม่ๆ การศึกษาวิชาพละศึกษาที่ไม่เคยมีการสอนมาก่อน เป็นต้น สร้างได้เพียงครึ่งเดียว ทางโรงเรียนจึงอนุมัติงบอีก 7,000 บาทเพื่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จตลอดสาย ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นำโดยนายสมเกียรติ วิจิตรธนสาร ได้จัดหาเงินสร้างสนามบาสเก็ตบอลเป็นคอนกรีต โดยใช้เงินทั้งสิ้น 14,458.00 บาท และในปีเดียวกันนี้ทางโรงเรียนได้งบประมาณรื้อถอน และซ่อมแซมโรงอาหารหลังเก่า ขยายให้กว้าง ลาดพื้นซีเมนต์เพื่อใช้เป็นห้องฝึกหัดพละศึกษาและใช้เป็นห้องประชุม และเงินงบประมาณยอดเดียวกันนี้ ได้ทาสีโรงเรียนใหม่ และซ่อมแซมประตูหน้าต่างให้เสร็จหมดงบประมาณทั้งสิน 100,000 บาท และ ได้สร้างบ้านภารโรงขึ้น ๑ หลัง อยู่ทางทิศใต้ของหนองสระพัง ด้วยเงินบำรุงการศึกษา 3,000 บาท



ที่มา

ราชกิจจานุเบกษา, รายงานตรวจจัดการคณะการพระศาสนาและการศึกษา ในมณฑลนครราชสีมา ของ พระเทพมุนี ผู้อำนวยการ ร,, ๑๒๐, เล่ม ๑๘, ตอน ๐, ๐๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๔, หน้า ๖๔
ราชกิจจานุเบกษา, รายงานตรวจจัดการคณะการพระศาสนาและการศึกษา ในมณฑลนครราชสีมา ของ พระเทพมุนี ผู้อำนวยการ ร,, ๑๒๐, เล่ม ๑๘, ตอน ๐, ๐๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๔, หน้า ๖๕
เอกสารก่อตั้งสถานศึกษา หอจดหมายเหตุแห่งชาติ (ไมโครฟิมล์) (ศธ.3/ร.ศ.121),
รายงานการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐานโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล พ.ศ. 2547
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2441/033/333.PDF ราชกิจกานุเบกษา เล่ม 15 แผ่นที่ 33 วันที่ 13 พฤศจิกายน ร.ศ. 118
หนังสือที่ระรึกโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล พ.ศ. 2532 
รายชื่อข้าราชการกระทรวงธรรมการ ร.ศ.120 ศธ.3/ร.ศ.120.23 กระทรวงธรรมการ
รายชื่อข้าราชการกระทรวงธรรมการ ร.ศ.123 ศธ.3/ร.ศ.123.26/1 กระทรวงธรรมการ

วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561

พระธาตุพนม



พระธาตุพนม
          เป็นปูชนียสถานสำคัญอันเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนริมสองฝั่งโขงและประชาชนทั่วไป  พระธาตุพนม ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒  หน้า ๓๖๘๗  ลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘  และกำหนดขอบเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา  เล่มที่ ๙๖  ตอนที่ ๑๖๐  หน้า ๓๒๑๗  ลงวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๒๒  มีพื้นที่ประมาณ ๑๗ ไร่ ๓ งาน ๕๖ ตารางวา
          องค์พระธาตุพนม  ตั้งอยู่ภายในวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร  ตำบลธาตุพนม  อำเภอธาตุพนม  จังหวัด นครพนม  สถานที่ตั้งขององค์พระธาตุเป็นเนินดินสูงกว่าบริเวณโดยรอบประมาณ ๒ เมตร  เนินดินอันเป็นที่ตั้งขององค์พระธาตุพนมนี้กล่าวเรียกในตำนานว่า ภูกำพร้าตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำโขง (ห่างประมาณ ๖๐๐ เมตร)  ทิศตะวันออก
ติดถนนชยางกูร (ถนนสายนครพนม-อุบลราชธานี)  ห่างจากถนนสายนี้ไปทางทิศ ตะวันออกจะพบบึงน้ำกว้างประมาณ ๓๐๐ เมตร ยาวขนานไปกับแม่น้ำโขง  เรียกกันในท้องถิ่นว่า บึงธาตุและเชื่อกันว่าบึงนี้ถูกขุดขึ้นในอดีตเพื่อนำเอาดิน ที่ได้มาปั้นอิฐก่อองค์พระธาตุพนมขึ้น
http://www.nkp2day.com/องค์พระธาตุพนม-ณ-วัดพระ-2/
การสร้างพระธาตุพนม
          ตามตำนานพระธาตุพนมกล่าวไว้ว่า  องค์พระธาตุพนมนี้สร้างครั้งแรกเมืองราว พ.ศ.๘  ขณะที่อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ กำลังเจริญรุ่งเรือง  โดยเจ้าผู้ครองนครในแคว้นต่าง ๆ ทั้ง ๕  มีพญาศรีโคตรบูรณ์ เป็นต้น  และพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์  ซึ่งมีพระมหากัสสปเถระเป็นประมุข  เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระมหากัสสปเถระนำมาจากอินเดียประดิษฐานไว้ข้างใน  อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ตามตำนานจะกล่าวว่าพระธาตุพนมถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๘  แต่จากหลักฐานทางโบราณคดีเท่าที่ปรากฏ  สันนิษฐานได้ว่าองค์พระธาตุพนมน่าจะถูกสร้างขึ้นในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒๑๔ หลักฐานสำคัญที่ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ คือ ภาพสลักอิฐแบบโบราณที่ประดับอยู่บริเวณส่วนเรือนธาตุของ
พระธาตุพนมอันมีลักษณะรูปแบบคล้ายศิลปะทวารวดีแบบฝีมือของช่างพื้นเมือง
          องค์พระธาตุพนมได้รับการบูรณะมาหลายครั้ง โดยเฉพาะตั้งแต่สมัยของพระเจ้าโพธิศาลราช แห่งอาณาจักรล้านช้าง (ราว พ.ศ.๒๐๗๒-๒๑๐๓) พระองค์ได้เสด็จลงมาบูรณะและสถาปนาวัดพระธาตุพนมขึ้นเป็นพระอารามหลวงจากนั้นเป็นต้นมาจึงได้เกิดเป็นประเพณีที่ผู้ครองอาณาจักรล้านช้างในสมัยต่อ ๆมาจะลงมาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระธาตุพนมเป็นประจำแทบทุกพระองค์
การบูรณองค์พระธาตุ
          การบูรณะครั้งสำคัญที่ควรกล่าวถึงคือ การบูรณะของท่านราชครูโพนสะเม็กจากเมืองเวียงจันทร์ เมื่อ พ.ศ.๒๒๓๓-๒๒๓๕ โดยช่างจากนครเวียงจันทร์ ในการบูรณะครั้งนี้ทำให้พระธาตุพนมได้รับอิทธิพลรูปแบบส่วนยอดมาจากพระธาตุหลวงที่นครเวียงจันทร์ ซึ่งน่าจะเป็นการกำหนดรูปแบบที่แน่นอนขององค์พระธาตุพนมตั้งแต่นั้นมา และได้กลายเป็นแบบฉบับของงานก่อสร้างองค์พระธาตุในภาคอีสานตอนบน          การบูรณะปรากฏอีกครั้งในปี พ.ศ.๒๔๔๔ พระอุมัชฌาย์ทา วิคบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์เลา กับคณะ ได้ธุดงค์มาถึงวัดพระธาตุพนม จึงคิดจะบูรณะปฏิสังขรณ์ จึงได้เชิญพระครูวิโรจน์รัตโนบล เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ทางการช่างมาซ่อม โดยได้ทำการกะเทาะปูนเก่าที่ชำรุดแล้วโบกใหม่ ทาสีประดับกระจก กระเบื้องเคลือบในที่บางแห่ง และลงรักปิดทองที่ยอด การบูรณะที่สำคัญอีกครั้ง ได้แก่ ในปี พ.ศ.๒๔๘๓ คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ รัฐมนตรีและอธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้นดำเนินการ ในการบูรณะพระธาตุครั้งนี้ได้
พระธาตุพังลงวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘
http://www.watthat.com/
ซ่อมแซมโดยเทคอนกรีตเสริมเหล็กจากส่วนเหนือฐานหรือพระธาตุชั้นที่ ๑ ขึ้นไปจนถึงยอดสุด แล้วต่อยอดให้สูงขึ้นไปอีก ๑๐ เมตร และเพิ่มฉัตรทองคำเหนือยอดองค์พระธาตุ (เฉพาะฉัตรทองคำที่ดำเนินการสร้างใหม่แทนฉัตรองค์เก่า สร้างแล้วเสร็จและนำไปประดิษฐานเมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗) การบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ คือ ในช่วงเดือนพฤษภาคม ๒๕๑๙ ถึง เดือนมีนาคม ๒๕๒๒ กรมศิลปากรได้ดำเนินการปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมขึ้นใหม่ภายหลังที่องค์พระธาตุพังทลายล้มทั้งองค์เมื่อวันที่
๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘
พระธาตุนมองค์เดิมก่อนพังทลาย
http://www.thatphanom.com
ลักษณะและที่ตั้ง
          สถูปอิฐพระธาตุพนมองค์เดิม ตั้งอยู่เกาะกลางสระน้ำหน้าวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร  ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากองค์พระธาตุพนมประมาณ ๒๐๐ เมตร และห่างจากริมฝั่งแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศลาวประมาณ ๒๕ๆ เมตร มีลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยม สูงจากระดับพื้น ประมาณ ๑๔ เมตร ตั้งอยู่บนฐานสูง ๖ เซนติเมตร ข้างในใช้เก็บรักษาเศษอิฐเศษปูนพระธาตุพนมองค์เดิม ซึ่งหักพังทลายลงในวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘ นอกจากนี้ ยังบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันตธาตุ พระพุทธรูป อัญมณี และวัตถุมงคลอื่น ๆ เป็นจำนวนมากอีกด้วย กรุสำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุพร้อมทั้งสิ่งของอันมีค่า ได้จัดทำขึ้นเป็นพิเศษ ส่วนกว้าง ๑.๕๐ เมตร ยาว ๒ เมตร สูง ๑.๕๐ เมตร 
การดำเนินการก่อสร้าง
          ก่อนอื่น ต้องย้อนไปดูเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นกับองค์พระธาตุพนมเมื่อ ๒๕ ปีล่วงแล้ว เราจึงจะรู้ที่ไปที่มาของเศษอิฐเศษปูนที่เก็บรักษาอยู่ในสถูปโดยแจ่มแจ้ง กล่าวคือ เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ เวลา ๑๙.๓๘ น. พระธาตุพนมซึ่งเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย และเป็นจุดศูนย์รวมแห่งการเคารพบูชาของชาวพุทธในลุ่มแม่น้ำโขงมาช้านาน
ประมาณ ๒, ๐๐๐ กว่าปี ได้หักพังทลายลงไปทางทิศตะวันออกทั้งองค์ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากพระธาตุช่วงล่างหรือช่วงที่หนึ่งเก่าแก่และชำรุดมาก ไม่สามารถทานน้ำหนักช่วงบนไว้ได้จึงเป็นเหตุให้หักพังลงมาดังกล่าวแล้ว  ทางรัฐบาลได้ดำเนินการก่อสร้างใหม่ในปีต่อมา โดยสร้างด้วยคอนกรีตครอบฐานองค์เดิมซึ่งยังเหลืออยู่ประมาณ  ๖ เมตร ก่อนจะลงมือก่อสร้าง  เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรร่วมกับทางวัดพระธาตุพนม โดยขนไปเก็บไว้ที่สนามด้านตะวันออก  หอพระนอนหรือหอพุทธไสยาสน์  ซึ่งอยู่นอกวิหารคตทางด้านเหนือองค์พระธาตุพนม เป็นการเก็บไว้ชั่วคราว ในขณะเดียวกันนั้นก็คัดเลือกเอาอิฐส่วนที่สมบูรณ์และมีลวดลายแยกไว้ต่างหาก อิฐจำนวนนี้ส่วนมาก ได้เก็บไว้ที่ที่วิหารคตทางทิศใต้องค์พระธาตุพนมทั้งนี้ เพื่อความสะดวกในการก่อสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่ ต่อมาเมื่อสร้างโครงพระธาตุด้วยคอนกรีตแล้วเสร็จ ก็ทำการตบแต่งด้วยลวดลาย  อิฐลวดลายที่คัดเลือกไว้ก่อนหน้านี้นั้นไม่สามารถนำไปปะติดปะต่อประกอบเป็นลวดลายได้ทั้งหมด ทำได้เป็นบางตอนที่ช่วงล่างเท่านั้น ทั้งนี้ เพราะพระธาตุพนมองค์ใหม่เล็กกว่าองค์เก่า คือ ที่ช่วงล่างหรือช่วงที่หนึ่งเล็กกว่าองค์เก่าหรือองค์เดิมด้านละประมาณ ๕  เซนติเมตร อีกประการหนึ่งอิฐลวดลายที่คัดเลือกไว้นั้นมีไม่ครบ ชำรุดและหายไปก็มาก ไม่สามารถนำมาต่อกันให้เป็นลวดลายได้  อิฐลายส่วนที่เหลืออยู่จำนวนหนึ่ง  เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรให้คนงานนำไปเก็บไว้ที่โรงเก็บพัสดุก่อสร้าง ซึ่งอยู่ด้านเหนือโรงเรียนพนมวิทยาคาร  ต่อมาได้รื้อถอนโรงเก็บพัสดุก่อสร้าง  ทางวัดพระธาตุพนมได้นำไปเก็บไว้ที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมรัตนโมลีศรีโคตบูร พ.ศ. ๒๕๒๕ หลังจากสร้างพระธาตุพนมแล้วเสร็จโดยสมบูรณ์เป็นเวลา ๓ ปีเศษ
ทางวัดได้ขนย้ายเศษอิฐเศษปูนของพระธาตุพนมองค์เดิม  ซึ่งกองรวมกันอยู่ที่สนามหญ้าทางตะวันออกหอพระนอน  เอาไปเก็บไว้ที่เกาะกลางสระน้ำหน้าวัดพระธาตุพนม พ.ศ.  ๒๕๓๕  ทางวัดพระธาตุพนมได้ขุดลอกสระน้ำหน้าวัด  ทางด้านใต้และด้านเหนือ ได้ตบแต่งขอบสระน้ำให้สวยงามและมั่นคงด้วยหินทรายทั้ง ๒ สระ  ในปีนั้นก็ได้มีโครงการจะสร้างสถูปอิฐพระธาตุพนมด้วย  แต่ไม่อาจดำเนินการได้  เพราะทุนทรัพย์ไม่พอ ส่กิวนทุนทรัพย์ที่มีอยู่ในขณะนั้น  ก็ได้เอาไปสร้างสิ่งที่จำเป็นกว่า ซึ่งจะต้องใช้โดยรีบด่วนเช่น  เมรุเผาศพ ศาลาบำเพ็ญกุศล และกุฏิที่พักพาอาศัยของพระภิกษุสามเณรเป็นต้น  แต่ได้รวบรวมเศษอิฐพระธาตุซึ่งยังกระจัดกระจายอยู่ในที่อื่นภายในวัด และที่อยู่ที่เกาะกลางสระน้ำหน้าวัดเอามากองพูนกันขึ้นเหมือนจอมปลวกสูงประมาณ ๕ เมตร เพื่อเตรียมก่อสร้างสถูปครอบภายหลัง  ได้ใช้อิฐก่อสร้างเป็นตัวอักษรไว้ที่ขอบสระ  เพื่อให้คนที่เดินทางผ่านไปมาได้รู้ว่าเรามีโครงการก่อสร้างสถูป  เพื่อเก็บรักษาอิฐพระธาตุพนมองค์เดิมไว้ไม่ให้สูญหาย  ตักอักษรที่ขอบสระมีอยู่ด้วยกัน ๓ ด้านคือ ด้านเหนือ ด้านตะวันออก และด้านใต้  มีใจความวว่า สถูปอิฐพระธาตุพนมองค์เดิมนอกจากนี้ ยังใช้อิฐก่อเป็นตัวเลขบอก พ.ศ. ที่ขุดลอกสระว่า ๒๕๓๕อีกด้วย
          จาก พ.ศ. ๒๕๓๕ จนถึง พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นเวลา    ปี  จึงได้ดำเนินการก่อสร้างเป็นองค์สถูปขึ้น  คุณปัฐวาท  สุขศรีวงศ์  กรุงเทพมหานคร  และคณะอันประกอบด้วย คุณศิริธัช  โรจนพฤกษ์  พล.โท ประวิตร  วงศ์สุวรรณ  เป็นต้น  มีศรัทธาเป็นเจ้าภาพบริจาคทุนทรัพย์ในการดำเนินการก่อสร้างทั้งหมดจำนวน ๒, ๖๒๐, ๐๐๐ (สองล้านหกแสนสองหมื่นบาทถ้วน) รายละเอียดในการก่อสร้างสถูกมีดังนี้  พระครูพนมธรรมโฆสิต (ดร. พระมหาสม  สุมโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร  โดยการอนุมัติของเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร  คือ  พระธรรมปริยัติมุนี  เป็นผู้ออกแบบก่อสร้าง 
โดยให้มีรูปทรงคล้ายกันกับองค์พระธาตุพนมยุคแรก  คือ  ยุค  พ.ศ.    หรือที่เรียกกันว่าพระธาตุพนมช่วงแรก ได้ว่าจ้างคนงานในถิ่นนี้มาทำจำนวน  ๓๐ คน  ให้นายสว่าง  ต้นเงิน  เป็นหัวหน้าควบคุมดูแลพระครูพนมธรรมโฆสิต  เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างทั้งหมด
          วันที่  ๑๘ พฤษภาคม  ๒๕๔๑  ก่อนลงมือทำการก่อสร้าง  ได้นิมนต์พระสงฆ์    รูป มาสวดพุทธมนต์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์  และหว่านหินลูกกรวดและทราย  ซึ่งทำการปลุกเสกดีแล้ว ในจุดที่จะทำการก่อสร้างฐานสถูปสูง  ๖๐เซนติเมตร  กว้างด้านละ  ๑๖  เมตร  องค์สถูปกว้างด้านละ  ๑๒  เมตร เทเสาด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กจำนวน  ๑๒  ต้น  มีคานยึด    แห่ง  เทคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นผนังด้านในสุด  สูง    เมตร  ใช้อิฐใหม่ก่อทาบผนังคอนกรีต  ใช้อิฐเก่าสลับอิฐใหม่ก่อทาบอีกชั้นหนึ่งระหว่างหนังอิฐใหม่และผนังอิฐเก่าผสมอิฐใหม่  ได้เทคอนกรีตเสริมเหล็กเชื่อมหนา  ๑๐  เซนติเมตร สรุปแล้วผนังสถูปมี    ชั้นคือ
       ๑.  ด้านในคอนกรีตเสรอมเหล็ก
       ๒. อิฐใหม่ก่อเรียงกันขึ้นตามแนวผนังคอนกรีต
       ๓. คอนกรีตเสริมเหล็กเชื่อมระหว่างผนังอิฐเก่าและอิฐใหม่
       ๔.  อิฐเก่าและอิฐใหม่เป็นผนังชั้นนอกสุด
ศิลปะและสถาปัตยกรรม
          สำหรับอิฐลวดลายองค์พระธาตุพนมองค์เดิม  ซึ่งเก็บรักษาอยู่ที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมรัตนโมลีศรีโคตรบูรนั้นได้นำมาก่อติดผนังด้านนอกทั้ง    ด้าน  เนื่องจากอิฐลวดลายที่คัดเลือกแล้วนั้นมีเหลืออยู่ไม่มาก  ที่ชำรุดและสูญหายไปก็มาก  จึงไม่สามารถประกอบเป็นลวดลายที่สมบูรณ์ได้เหมือนเดิม  อย่างไรก็ดี  อิฐลวดลายซึ่งมีอยู่ขณะนี้  ก็พอถือเอาเป็นข้อมูลในการศึกษาด้านโบราณคดีได้ เมื่อเทคอนกรีตและก่ออิฐสูง    เมตรแล้ว  จากนั้นก็ได้ก่อหลังคามุงไว้สูงประมาณ    เมตรสถูปรวมสูง ๑๔  เมตร  หรือจะเรียกว่า  “ อูบมุง) ก็ได้ไม่ผิด  หลังคามีลักษณะกลมเหมือนโอคว่ำ  ต่างแต่ยอดสุดมีรูปปั้นดอกบัว ๕ ดอกเท่านั้น รูปดอกบัวปั้นที่หลังคาทั้ง ๕ ดอกนั้น ๔ ดอกเป็นดอกบัวที่บานแล้ว อีกดอกยังตูมอยู่  ยังไม่บาน  ซึ่งก็มีความหมายดังนี้ ในภัททกัปนี้  มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ ๕ องค์ ๔ องค์ตรัสรู้ไปแล้ว  ปละปรินิพพานไปแล้ว  อันได้แก่  พระกกุสันธะ, พระโกนาคมนะ, พระกัสสปะ และพระโคตมะ  เหมือนดอกบัวที่บ้านแล้วและร่วงโรยไปแล้ว  อีกหนึ่งองค์  จะมาตรัสรู้ในภายหน้า  ในปลายภัททกัปนี้  ซึ่งได้แก่  พระศรีอริยเมตไตย์  เหมือนดอกบัวที่ยังตูมอยู่แต่จะบานในภายภาคหน้า
พระธาตุพนมองค์เดิมที่อยู่เกาะกลางสระน้ำ
http://www.watpamahachai.net/Document12_1.htm
          พระธาตุพนม เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนายุคแรกๆ ที่แพร่เข้ามาในบริเวณกลุ่มน้ำโขง และมีนักวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า พระธาตุพนมเป็นพระธาตุเจดีย์ที่เก่าแก่และมีความศักดิ์สิทธิ์สำคัญของลุ่มน้ำโขง ดังนั้นในส่วนนี้ เป็นการประมวลภาพพระธาตุพนมในแง่งานศิลปะสถาปัตยกรรมที่ปรากฏอยู่บนองค์พระธาตุพนม
รูปทรงดั้งเดิมของพระธาตุพนม
          ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียรภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร อธิบายในหนังสือ ๕ มหาเจดีย์สยาม จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส ไว้ว่า รูปทรงดั้งเดิมของพระธาตุพนมอาจเป็น ปราสาทเขมร-จาม กว่าที่รูปทรงขององค์พระธาตุพนมจะเป็นอย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ องค์พระธาตุพนมได้ถูกสร้างเสริมและต่อเติมมาหลายครั้งหลายสมัย
          โดยนักวิชาการสันนิษฐานว่ารูปแบบดั้งเดิมเมื่อแรกสร้างน่าจะมีรูปทรงปราสาทเขมร ที่สร้างขึ้นในสมัยก่อนเมืองพระนคร มีชื่อเรียกว่าแบบ ไพรกเมง-กำพงพระ เนื่องจากปราสาทที่สร้างในช่วงสมัยนี้มักทำเรือธาตุเป็นห้อง ก่ออิฐเรียบ มีการประดับด้วยเสากลมที่วางคั่นอยู่เป็นระยะ ๆ บัวหัวเสาทำเป็นรูปกลม ซึ่งเหมือนกับที่พบในส่วนเรือนธาตุขององค์พระธาตุพนมนั่นเอง หรือไม่เช่นนั้นก็อาจมีรูปร่างคล้ายกับปราสาทในศิลปะจาม ที่สร้างในสมัยฮั่วล่าย (Hoa-Lai) และ ดงเดือง (Doug Doung) ซึ่งเคยรุ่งเรืองอยู่ในประเทศเวียดนาม เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ คือ กว่าพันปีมาแล้วก็เป็นได้ เนื่องจากเสาติดผนังขององค์พระธาตุพนมมีแถบลวดลายประดับอยู่ตรงกลางเสา เหมือนกับที่พบตามปราสาทในศิลปะจามเป็นอย่างมาก การที่พระธาตุพนมอาจเคยมีรูปแบบคล้ายคลึงกับปราสาทจามนี้ ไม่ถือเป็นเรื่องแปลกอย่างใดเลย เนื่องจากที่ตั้งของพระธาตุพนมอยู่บนเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อระหว่างชุมชนโบราณในกลุ่มน้ำโขงตอนกลางของลาวกับช่องเขาที่ออกไปยังอาณาจักรจามปาในประเทศเวียดนามได้ ดังนั้นในบริเวณนี้ จึงอาจมีการแลกเปลี่ยนหรือรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากศิลปะจามได้ไม่ยากนักปราสาทฮั่วลายหลังเหนือ ศิลปะจาม


อ้างอิง
เทพโมลี, พระ .ประวัติย่อพระธาตุพนม วัดพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : เฟื่องอักษร, 2516
https://missmamyna 1.wordpress.com/ พระธาตุพนมองค์เดิม
http://www.finearts.go.th/fad10/parameters/km/item/พระธาตุพนม.html
http://www.watpamahachai.net/Document12_1.htm
 http://www.watthat.com/

วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

เมืองสี่มุม

นช่วงปี พ.ศ. 2369 – 2371 เมืองเวียงจันทน์ในขณะมีเจ้าอนุวงศ์ปกครองอยู่ เห็นว่าทางกรุงเทพฯมีศึกติดพันหลายด้าน และเหล่าแม่ทัพนายกองล้วนแต่เป็นคนรุ่นใหม่ไม่เก่งกล้าสามารถเหมือนสมัยก่อน ในช่วงเดือนตุลาคม 2369 จึงประกาศอิสรภาพหรือแข็งเมือง และยกพลเข้าตีกรุงเทพมหานครหวังจะยึดเอาเมืองให้ได้ โดยการชักชวนเกลี้ยกล่อมและรวบรวมหัวเมืองต่างๆให้ร่วมมือกันโจมตีกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะหัวเมืองทางภาคอีสานเจ้าอนุวงศ์ได้ส่งขุนนางและทหารเข้าเกลี้ยกล่อมให้เข้าร่วมโจมตีกรุงเทพมหานครด้วย โดยมี 2 เมืองคือเมืองนครพนมและเมืองสี่มุมเข้าร่วมมือด้วยอย่างแข็งขัน อีก 9 เมืองเข้าร่วมอย่างไม่เต็มใจคือ ขุขันธ์ สระบุรี หล่มสัก ชนบท ยโสธร สุรินทร์ ปักธงชัย ขอนแก่น สกลนคร และอีก 6 เมืองไม่เข้าร่วมคือ เขมราฐ กาฬสินธุ์ ภูเขียว ภูเวียง ชัยภูมิ และหล่มสัก เจ้าเมืองเหล่านี้ที่ไม่เข้าร่วมถูกเจ้าอนุวงศ์สั่งประหารชีวิตทั้งหมด ภายหลังเจ้าเมืองขุขันธุ์ก็ถูกสั่งประหารด้วยเช่นกัน ในเดือนกุมภาพันธ์ปีต่อมาหลังจากประกาศการกู้ชาติได้ 5 เดือนเจ้าอนุวงศ์บุกยึดเมืองโคราช และเคลื่อนกองกำลังต่อไปจนถึงสระบุรี ทางกรุงเทพมหานครจึงทราบข่าวเจ้าอนุวงศ์ก่อการกบฏ
หลังจากที่ทางกรุงเทพฯทราบข่าวเจ้าอนุวงศ์ตั้งตัวเป็นกบฎแล้ว สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 จึงโปรดเกล้าให้จัดกองทัพออกปราบ เจ้าอนุวงศ์ทราบข่าวว่าทางกรุงเทพฯไหวตัวและยกทัพมาปราบจึงได้ถอยทัพจากสระบุรี กวาดต้อนไพร่พลกลับเวียงจันทน์โดยวางกำลังเอาไว้ตีประทะตลอดแนวทาง ด่านยุทธศาสตร์สำคัญก่อนที่จะถึงเวียงจันทน์คือเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน(หนองบัวลำภู) ส่วนทัพหลวงของกรมพระราชวังบวรก็ตามตีจนมาถึงเมืองภูเวียงเห็นว่าเป็นเมืองที่มีชัยภูมิที่ดี จึงได้หยุดทัพหลวงไว้ที่นี่ และส่งกองกำลังเข้าตีเมืองหนองบัวลำภู
ฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ได้แต่งตั้งให้เจ้าเมืองสี่มุมพระยานรินทร์สงครามซึ่งมีความจงรักภักดีต่อเจ้าอนุวงศ์เป็นแม่ทัพอยู่รั้งเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ส่วนตัวพระองศ์เองได้นำไพร่พลเดินทางกลับไปยังเมืองเวียงจันทน์  สมรภูมิแห่งนี้เป็นสมรภูมิที่ต่อสู้กันดุเดือดที่สุด อันเนื่องมาจากพระยานรินทร์สงครามเป็นแม่ทัพที่เก่งกล้าสามารถ มีวิชาคาถาอาคม และมีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว ต่อสู้จนเหลือทหารเพียง 6 คน และสุดท้ายก็พลาดท่าหล่นลงมาจากหลังม้าจึงถูกทหารไทยจับตัวส่งกรมพระราชวังบวรฯที่ทัพหลวง เมืองภูเวียง กรมพระราชวังบวรฯทราบว่าพระยานรินทร์สงครามเป็นคนมีความสามารถในการสู้รบจึงคิดจะชุบเลี้ยงไว้  แต่พระยานรินทร์สงครามไม่เพียงแต่ไม่สนใจใยดี และยังตอบกลับมาว่า เมื่อเกิดเป็นชายชาติทหาร ถ้าแม้นเสียทีก็จะขอยอมตายไม่ยอมอยู่เป็นคน ขอให้ท่านฆ่าเสียให้เป็นผียังดีเสียดีกว่าอยู่เป็นคนดังนั้นกรมพระราชวังบวรจึงสั่งประหารชีวิต พระยานรินทร์สงคราม แต่ด้วยความที่พระยานรินทร์เป็นคนที่มีคาถาอาคมแก่กล้า ฟัน แทง ไม่เข้า กรมพระราชวังบวรจึงให้เอาตัวไปผูกติดกับต้นไม้และใช้ช้างแทงจนตาย ณ.ที่ต้นยางใหญ่ใกล้กับหนองน้ำ บุ่งกกแสงปัจจุบันอยู่บริเวณทางโค้งห่างจากศาลเจ้าจอมไปประมาณ 100 เมตร ต่อมามีการสร้างศาลขึ้นเพื่อรำลึกถึงความกล้าหาญ และความเป็นจอมคนของพระยานรินทร์สงคราม เรียกศาลเจ้าจอม หรือปู่จอมที่คนภูเวียงและประชาชนทั่วไปให้นับถือสักการบูชา ตั้งอยู่บริเวณช่องเขาทางเข้าไปอำเภอเวียงเก่าบริเวณใกล้เคียงกับที่ซึ่งพระยานรินทร์สงครามถูกประหารชีวิต หลังจากเสร็จสิ้นศึกเจ้าอนุวงศ์แล้วเมืองสี่มุมก็กลับไปขึ้นกับสยามเหมือนเดิม
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังไม่มีการจัดตั้งจังหวัดขึ้นเป็นทางการ บริเวณจังหวัดชัยภูมิประกอบไปด้วยเมืองใหญ่ 3 เมือง คือ เมืองชัยภูมิ, เมืองภูเขียว และเมืองสี่มุม (จัตุรัส) ในปี พ.ศ. 2440 ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองราชอาณาจักร โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ให้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทยหน่วยงานเดียว เมืองในจังหวัดชัยภูมิ จึงเข้าอยู่ในมณฑลนครราชสีมา ต่อมาในสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475 มีการเปลี่ยนแปลงรูปการปกครองประเทศครั้งใหญ่ จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกเขตการปกครองแบบ “เมือง” ทั่วราชอาณาจักร แล้วตั้งขึ้นเป็น “จังหวัด” แทน เมืองชัยภูมิ, เมืองภูเขียว และเมืองสี่มุม (จัตุรัส) จึงรวมกันกลายเป็นจังหวัดชัยภูมิ โดยใช้บริเวณเมืองชัยภูมิจัดตั้งเป็นอำเภอเมืองชัยภูมิยกฐานะเป็นศูนย์กลางของจังหวัด
“เมืองสี่มุม” เจ้าเมืองคนแรกคือ “พระนรินทร์สงคราม” มีชื่อเดิมว่า “คำ”โดยเมืองสี่มุมมีเจ้าเมืองปกครองสืบต่อกันมาตามลำดับ ดังนี้
1.      พระนรินทร์สงคราม (อาจารย์คำ)
2.      พระยานรินทร์สงคราม (2) หาหลักฐานชื่อเดิมไม่ได้ จึงใส่หมายเลขแทน
3.      พระยานรินทร์สงคราม (3)
4.      พระยานรินทร์สงคราม (4)
5.      หลวงยกบัตรเสา (เสียชีวิตก่อนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ตราตั้งเจ้าเมือง)
6.      พระยานรินทร์สงคราม (บุญเฮ้า)
7.      พระยานรินทร์สงคราม (ทองดี)
เมืองสี่มุมก่อนที่จะมาตั้งอยู่ที่อำเภอจัตุรัสปัจจุบันนี้มีการย้ายเมืองหลายครั้ง แต่ถึงจะย้ายไปอยู่ที่ใดก็ยังใช้ชื่อเมืองสี่มุมเหมือนเดิม มีการย้าย ดังนี้ ครั้งที่ 1 ในสมัยพระยานรินทร์สงคราม ย้ายจากที่ตั้งเดิมบ้านสี่มุม (สระสี่เหลี่ยม) มาตั้งบริเวณที่เป็นบ้านหนองบัวใหญ่ ตำบลหนองบัวใหญ่ อำเภอจัตุรัส ในปัจจุบันนี้ ครั้งที่ 2 ในสมัยพระยานรินทร์สงคราม (บุญเฮ้า) ย้ายจากเมืองสี่มุม (หนองบัวใหญ่) มาตั้งที่บ้านกอกจนถึงปัจจุบันที่ตั้งเมืองอยู่ที่บริเวณหมู่ที่ 1 ตำบลบ้านกอก อำเภอจัตุรัส ซึ่งที่ตั้งของอำเภอจัตุรัสนับถึงปัจจุบันก่อตั้งมาแล้ว 249 ปี
        ในสมัยพระยานรินทร์สงคราม (ทองดี) เป็นเจ้าเมือง ในปี พ.ศ. 2440 ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้เปลี่ยนแปลงระบบการปกครองประเทศใหม่จัดเมืองต่าง ๆ เป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน เมืองสี่มุมจึงถูกยุบและจัดตั้งเป็นอำเภอขึ้นมาแทนชื่อ “อำเภอจัตุรัส” ส่วนเจ้าเมืองก็เปลี่ยนเป็นนายอำเภอโดยให้พระยานรินทร์สงคราม (ทองดี) เป็นนายอำเภอ นับเป็นนายอำเภอคนแรกของอำเภอจัตุรัสตั้งแต่นั้นมา อำเภอจัตุรัสในสมัยนั้นมีพื้นที่อาณาเขตกว้างขวางมาก คือ มีพื้นที่ครอบคลุมถึง 6 อำเภอในปัจจุบัน ต่อมาทางราชการได้แบ่งแยกพื้นที่ของอำเภอออกเป็นอำเภอต่าง ๆ ดังนี้
1. อำเภอบำเหน็จณรงค์ แยกพื้นที่และการปกครองออกจากอำเภอจัตุรัส จำนวนเนื้อที่ 1,435.904 ตารางกิโลเมตร เมื่อ พ.ศ. 2486
2.อำเภอเทพสถิต แยกพื้นที่และการปกครองออกจากอำเภอบำเหน็จณรงค์ ซึ่งเป็นพื้นที่เดิมของอำเภอจัตุรัส จำนวนเนื้อที่ 875.604 ตารางกิโลเมตร เมื่อ พ.ศ. 2519
3.อำเภอหนองบัวระเหว แยกพื้นที่และการปกครองออกจากอำเภอจัตุรัส จำนวน 2 ตำบล (ตำบลหนองบัวระเหวและตำบลวังตะเฆ่) เนื้อที่ 841.782 ตารางกิโลเมตร เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2521
4.อำเภอเนินสง่า แยกพื้นที่และการปกครองออกจากอำเภอจัตุรัส จำนวน 4 ตำบล (ตำบลหนองฉิม ตำบลกะฮาด ตำบลตาเนิน และตำบลรังงาม) เนื้อที่ 222.03 ตารางกิโลเมตร เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2535
5.อำเภอซับใหญ่ แยกพื้นที่และการปกครองออกจากอำเภอจัตุรัส จำนวน 3 ตำบล (ตำบลซับใหญ่ ตำบลท่ากูบ และตำบลตะโกทอง) เนื้อที่ 255 ตารางกิโลเมตร เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540
6.อำเภอจัตุรัส ปัจจุบันเหลือจำนวนเนื้อที่ 690 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 431,250 ไร่ แบ่งการปกครองออกเป็น 9 ตำบล 119 หมู่บ้าน


อ้างอิง
https://www.silpa-mag.com
https://th.wikipedia.org/wiki/อำเภอจัตุรัส
https://sites.google.com/site/wittayasportman/prawati-khoch-chi-ko

วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ใบเสมาทวารวดีอีสาน



               ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานของประเทศไทย มีประวัติศาสตร์และศิลปะวัฒนธรรมที่โดดเด่นและมีความน่าสนใจหลายอย่าง โดยเฉพาะ ใบเสมาหรือหินตั้ง ที่เป็นอัตลักษณ์ด้านศิลปกรรมสมัยทวารวดี ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไปในภาคอีสานตามเมืองโบราณต่างๆที่ใกล้กับลำน้ำสำคัญของภูมิภาค เช่น ลำน้ำชี ลำน้ำมูล และลำน้ำโขง แต่คนทั่วไปที่ไม่ใช่นักวิชาการหรือผู้ที่สนใจศึกษาน้อยนักที่จะรู้จักหรือเข้าใจว่าใบเสมาหรือหินตั้งนั้นเป็นศิลปกรรมที่สำคัญอีกอย่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าโบราณสถานและชุมชนโบราณที่รับอิทธิพลจากเขมรอย่างเช่น ปราสาทหิน เทวรูปเคารพต่างๆ ใบเสมาหรือหินตั้งเป็นศิลปกรรมที่บ่งบอกถึงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมความเชื่อที่มีเฉพาะของกลุ่มทวารวดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและรวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มทวารวดีในภาคกลางโดยมีพุทธศาสนาเป็นสื่อกลางนอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับศิลปะและวัฒนธรรมของอาณาจักรใกล้เคียงที่ร่วมสมัยกันอย่างวัฒนธรรมเขมรในยุคก่อนเมืองพระนครอีกด้วย
                    มื่อกล่าวถึงอารยธรรมทวารวดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคนทั่วไปอาจนึกไม่ออกว่าบริเวณใดหรือหลักฐานทางโบราณคดีใดบ้างในภูมิภาคนี้ที่แสดงถึงความมีอยู่ของยุคสมัยดังนั้นผู้เขียนจะกล่าวถึงเมืองโบราณที่พบร่องรอยของอารยธรรมทวารวดี โดยจะแบ่งเป็น ๔ กลุ่ม ดังนี้


           ๑. บริเวณในลุ่มน้ำชี ซึ่งบริเวณลุ่มน้ำพบร่องรอยเมืองในยุคสมัยทวารวดีเป็นจำนวนมากและมีความหนาแน่นที่สุดกว่าพื้นที่ลุ่มน้ำอื่น โดยพบเมืองที่มีขนาดเล็กและใหญ่อยู่หลายเมืองได้แก่ เมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เมืองกันทรวิชัย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เมืองนครจำปาศรี อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เมืองเซียงเหียน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม  ใบเสมาบ้านกุดโง้ง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ และเมืองคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
ภาพถ่ายทางดาวเทียม เมืองเซียงเหียน
ที่มา : www.google.co.th/maps

ภาพถ่ายทางเดียวทียม เมืองคอนสวรรค์หรือนครกาหลง
ที่มา : www.google .co.th/maps

ภาพถ่ายทางดาวเทียม เมืองฟ้าแดดสงยาง
ที่มา : www.google.co.th/maps

                  เมืองฟ้าแดดสงยางมีพื้นที่ขนาดใหญ่รูปทรงของเมืองคล้ายกับรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง ๑,๐๐๐ เมตร ยาว๑,๘๐๐ เมตร และยังพบวัตุโบราณกระจัดกระจายจำนวนมาก พบว่ามีชุมชนอาศัยอยู่ตั้งสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงสมัยทวารวดี ซึ่งในสมัยทวารวดีนี้พบหลักฐานจำนวนมาก โดยเฉพาะใบเสมาที่พบมากกว่าร้อยใบ มีการแกะสลักลวดลายพุทธประวัติ ชาดก หรือบางแผ่นสลักเป็นรูปแท่งสันนูนอยู่กึ่งกลาง
ใบเสมาพุทธประวัติ ตอน พิมพาพิลาป ขุดค้นที่เมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
ใบเสมาจากเมืองฟ้าแดดสงยาง จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
                    ๒. บริเวณลุ่มน้ำมูลตอนบน เมืองโบราณบริเวณนี้จะพบการอยู่ร่วมกันของสองวัฒนธรรมคือวัฒนธรรมทวารวดีและเขมร แต่วัฒนธรรมเขมรก็ไม่ได้กลืนหายวัฒนธรรมทวารวดี แต่เป็นการผสมผสานกันของสองวัฒนธรรม เมืองต่างๆที่พบจะอยู่ในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดบุรีรัมย์ได้แก่ เมืองเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา และเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์
ภาพถ่ายทางดาวเทียม เมืองฝ้าย ที่มา : www.google.co.th/maps

ภาพถ่ายทางดาวเทียม เมืองเสมา ที่มา : www.google.co.th/maps
                    ๓. บริเวณลุ่มน้ำมูลตอนปลายคาบเกี่ยวกับลุ่มน้ำชีตอนปลาย พบเมืองโบราณที่กระจายตามจังหวัดยโสธร อำนาจเจริญ และตอนบนของอุบลราชธานี ตัวอย่างเช่น เมืองดงเมืองเตย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร เมืองโบราณบ้านตาดทอง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
                    ภายในเมืองดงเมืองเตยพบใบเสมาสมัยทวารวดี และยังพบหลักฐานวัฒนธรรมเขมรด้วยอาทิเช่น ปราสาทก่ออิฐตามแบบวัฒนธรรมเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร และที่เมืองโบราณบ้านตาดทอง เป็นเมืองที่มีรูปทรงของเมืองเป็นวงรี ขนาดความกว้าง ๕๐๐ เมตร ยาว ๗๕๐ เมตร ที่เมืองโบราณบ้านตาดทองพบใบเสมาสมัยทวารวดีจำนวนมากและยังพบหลักฐานวัฒนธรรมเขมรอยู่ร่วมอีกด้วย

ภาพถ่ายทางดาวเทียม เมืองดงเมืองเตย ที่มา : www.google.co.th/maps
               ๔. บริเวณลุ่มน้ำโขง หากการพบใบเสมานั้นเป็นความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมทวารวดี แสดงว่าวัฒนธรรมนี้ได้แพร่กระจายไปทุกๆจังหวัด ตัวอย่างเมืองวัฒนธรรมทวารวดีในอีสานตอนบน คือ ภูพระบาทและโดยรอบของอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี บริเวณภูพระบาทพบร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์หลายสมัย ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทวารวดร เขมร และล้านช้าง โขดหินและเพิงหินพบภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์จนเมื่อถึงสมัยทวารวดี โขดหินได้รับการตกแต่งให้เป็นศาสนสถาน หลายแห่งมีใบเสมาล้อมรอบ และภูพระบาทนี้มีลักษณะพิเศษของการปักใบเสมาตรงที่เป็นการปักล้อมโขดหินลักษณะประหลาด ซึ่งยังเคยพบเห็นการปักในลักษณะเช่นนี้ในเมืองโบราณหรือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์อื่น
ที่มา : www.kapok.com
ที่มา : www.loupiot.com


           ใบเสมาหรือหินตั้งนั้นถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมทวารวดีของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีรูปทรงคล้ายใบเสมากับใบเสมาที่ปักล้อมอุโบสถในสมัยสุโขทัยและอยุธยา มีลักษณะยอดแหลมคล้ายดอกบัว มีแกนสันนูนสลักตรงกลางบางหลักมีการสลักรูปพุทธประวัติหรือชาดก ซึ่งมีความสูงตั้งแต่ ๑ จนถึง ๒ เมตร นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องใบเสมาอย่าง รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม เป็นผู้ที่ศึกษาเรื่องใบเสมาหรือหินตั้งไว้จำนวนมากได้เสนอถึงหน้าที่ของใบเสมาในทวารวดีอีสานไว้ ๓ ประการ ได้แก่
           ๑. แสดงเขตศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา ทั้งล้อมรบอุโบสถ สถูป เจดีย์ หรือเนินดิน
           ๒. สร้างขึ้นเพื่อกุศลผลบุญซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการสะเดาะห์เคราะห์ของผุ้สร้าง และการอุทิศส่วนบุญกุศลถึงผู้ล่วงลับ
           ๓. ใบเสมาขนาดใหญ่าจเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในตัวเอง ทำหน้าที่เช่นเดียวกับสถูป เจดีย์ ปูชนียวัตถุอื่นๆในศาสนา
               สำหรับรูปแบบการปักใบเสมานั้นมีหลายแบบ การปักนั้นไม่ได้เป็นการปักแบบล้อมรอบเขตสังฆกรรมของสงฆ์แบบใบเสมาในพุทธศาสนาเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการปักที่ไม่มีแบบแผนกระจัดกระจายไม่เป็นทิศทางหรือบางอันปักอยู่บริเวณเนินดินที่เกี่ยวข้อกับพิธีกรรมความตายเนื่องจากพบกระดูกบรรจุภาชนะดินเผาอยู่ใต้ดิน ทำให้กล่าวได้ว่าหน้าที่อีกประการของใบเสมาที่พบบริเวณที่เกี่ยวกับพิธีกรรมศพ อาจเป็นเครื่องหมายในการกำหนดเขตที่เกี่ยวกับพิธีศพอันเป็นแบบแผนที่ชนพื้นเมืองในอุษาคเนย์ปฏิบัติกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ใบเสมากับการแสดงเขตศักดิ์สิทธิ์
เขตศักดิ์สิทธิ์อาจแบ่งได้เป็น ๒ ประเภทหลัก คือ เขตศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาโดยตรง ได้แก่พระสถูปเจดีย์ อาคารประดิษฐานพระพุทธรูป อุโบสถ และเขตศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นพื้นที่เกี่ยวกับประเพณีปลงศพ
            เขตศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาโดยตรง ใบเสมาที่สร้างขึ้นเพื่อแสดงเขตศักดิ์สิทธิ์ในพุทธศาสนาพิจารพิจารณาได้จากวิธีการปัก มักจะนิยมปักล้อมรอบอาคารหรือปูชนียวัตถุสถานในพุทธศาสนา หากปักล้อมรอบพื้นที่ว่างเปล่าแต่ใบเสมาเหล่านั้นมักอยู่ในตำแหน่งที่เป็นระเบียบแบบแผน หรือมีภาพเล่าเรื่องในพุทธศาสนาประดับอยู่
ตัวอย่างจารึกที่บ่งถึงประเพณีการกำหนดเขตหรือกำหนดสีมามีดังนี้
              แท่งหินจากวัดศรีธาตุประมัญฌา อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี มีลักษณะเป็นเลือกเป็นแท่งหินทรงกระบอกขนาดใหญ่ มีความว่า “...สถาปนาศิลานี้เป็นสีมา...
              จารึกบ้านกู่จาน พบจากบ้านกู่จาน ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร มีข้อความตอนหนึ่งว่า “...ประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ในสีมาที่กำหนดแล้ว...

จารึกบ้านกู่จาน ที่มา : isan.tiewrussia.com/travel/จารึกกู่จาน/
                 เมื่อพิจารณาจากรูปทรงของจารึกหลักนี้คงเป็นหนึ่งในใบเสมาที่ทำขึ้นเพื่อเป็นที่ทำสังฆกรรมของสงฆ์ในครั้งนี้ด้วย แต่ในหลายแหล่งไม่ได้ค้นพบร่องรอยอาคารใดๆ ในพื้นที่ที่มีใบเสมาล้อมรอบเลย เข้าใจว่าครั้งหนึ่งคงเป็นอุโบสถเครื่องไม้ซึ่งสูญสลายไปตามกาลเวลา เช่น กลุ่มใบเสมาบริเวณบวชพระปู่ ใกล้พระตำแหน่งของใบเสมาปักอยู่ในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ล้อมรอบทิศทั้งแปดของพื้นที่สี่เหลี่ยมที่ปัจจุบันไม่ปรากฏสิ่งใด แต่ละทิศมีใบเสมาซ้อนชั้นกัน ๓ ใบ รวม ๘ ทิศ มีใบเสมาทั้งสิ้น ๒๔ ใบ ใบเสมาชั้นในกับชั้นกลางค่อนข้างประชิดติดกัน ส่วนใบเสมาชั้นนอกจะอยู่ไกลออกมา การปักเช่นนี้คล้ายคลึงกันกับกลุ่มใบที่เมืองโบราณชัยวาน บ้านโพธิ์ไชย อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดขอนแก่น
           การปักเสมาซ้อนกัน ๓ ใบที่พบจากบริเวณบวชพระปู่ใกล้พระพุทธบาทบัวบานและเมืองชัยวาน อาจเป็นเครื่องหมายบ่งบอกพื้นที่ของขัณฑสีมา สีมันตริก และมหาสีมา ดังข้อความในสมันตปาสาทิกาซึ่งเป็นคัมภีร์ชั้นอรรถกถา คัมภีร์นี้บรรยายให้เห็นขนาดเล็กที่ซ้อนอยู่ในมหาสีมา ระหว่างสีมาทั้งสองมีพื้นที่สีมันตริกทับกัน นิมิตหรือเครื่องหมายที่ใช้สำหรับกำหนดขัณฑสีมา สีมันตริกและมหาสีมา จะเรียงตัวเป็น ๓ ชั้น มหาสีมาอยู่นอกสุดอาจมีขนาดใหญ่ได้ถึง ๓ โยชน์ ขัณฑสีมาอยู่ในสุดอย่างน้อยต้องมีขนาดเพียงพอให้พระสงฆ์ ๒๑ รูปนั่งหัตถบาสได้ ส่วนสีมันตริกคือพื้นที่ตรงกลางความกว้างอย่างน้อยที่สุดที่อนุญาตให้ทำได้คือ ๔ นิ้ว หรือจะทำ ๑ คืบ หรือ ๑ ศอก น่าจะเป็นที่มาที่ทำให้ใบเสมาชั้นในกับชั้นกลางประชิดติดกัน
ที่มา : http://isan.tiewrussia.com/wat_prathatbuaban/
              สำหรับใบเสมาบางกลุ่มอาจทำหน้าที่ปักล้อมรอบปูชนียวัตถุเพื่อเป็นสัญลักษณ์ถึงเขตศักดิ์สิทธิ์ทางความเชื่อก็ได้ เช่น พระธาตุยาคู เมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ อย่างไรก็ตาม ไม่อาจทราบได้ว่าใบเสมาเหล่านี้ปักมาแต่ครั้งทวารวดีหรือเพิ่งนำมาปักในช่วงที่มีการปฏิสังขรณ์พระธาตุยาคูในสมัยหลัง
               ขตศักดิ์สิทธิ์ในพิธีปลงศพ ชุมชนโบราณมักมีพื้นที่ ใช้สำหรับพิธีปลงศพ โดยทั้งไปแล้วก็คือเนินดินภายในเมืองหรือนอกเมือง เช่น เมืองฟ้าแดดสงยางใช้บริเวณที่เรียกกันในปัจจุบันว่าโนนเมืองเก่าเป็นสถานที่สำหรับปลงศพ เพราะพบโครงกระดูกมนุษย์แบบฝังเหยียดยาว หรือภาชนะบรรจุกระดูกมนุษย์ฝังอยู่ เนินดินที่เกี่ยวข้องกับพิธีปลงศพหลายแห่งมีใบเสมาปักอยู่ เช่น เนินดินที่บ้านตาดทอง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ผลจากการขุดค้นทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่าเนินดินนี้เป็นสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมมาแต่เดิม โดยในสมัยแรกพบหลักฐานการฝังศพในท่านอนเหยียดแบบวัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ต่อมาในสมัยประวัติศาสตร์จึงเปลี่ยนประเพณีปลงศพมาเป็นการนำกระดูกที่ผ่านการเผาไฟไปบรรจุไว้ในหม้อแล้วจึงนำไปฝัง เนินดินกลางเมืองโบราณคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ เป็นเนินดินที่พบกระดูกมนุษย์และเศษภาชนะจำนวนมาก ก็ได้พบใบเสมาปักกระจายไปทั่วเนินดิน นอกเหนือไปจากการทำเพื่อบวงสรวงหรืออุทิศบุญกุศลแก่ผู้ล่วงลับแล้ว เข้าใจว่าวัตถุประสงค์ของการปักใบเสมาบนเนินดินคงเกี่ยวข้องกับการเป็นเครื่องหมายของการเป็นเนินดินศักดิ์สิทธิ์ประจำชุมชนด้วย การปักบนเนินดินเหล่านี้มักมีทิศทางไม่สม่ำเสมอ หรือทิศทางที่ไม่แน่นอน ซึ่งไม่ใช่วิธีปักตามพุทธศาสนา อาจเกี่ยวข้องกับประเพณีดั้งเดิมที่เกี่ยวข้องกับการบูชาบรรพบุรุษผู้ล่วงลับก็เป็นได้
กลุ่มใบเสมาที่อยู่ตามบ้านเรื่อนของชาวบ้าน ในบ้านกุดโง้ง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
ใบเสมากับประเพณีการสร้างหรืออุทิศบุญกุศล
           จากหลักฐานต่างๆ ซึ่งจะกล่าวถึงในลำดับต่อไป ทำให้ทราบได้ว่าใบเสมามีความเกี่ยวขจ้องกับทั้งประเพณีพุทธศาสนาและประเพณีด้านความตาย ความเกี่ยวข้องกับการสร้างสมบุญกุศลของตนเองหรืออุทิศส่วนกุศลและบวงสรวงผู้ล่วงลับ ใบเสมาจึงมีมิติที่ทับซ้อนกันระหว่างประเพณีพุทธศาสนากับประเพณีที่มีความเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตายหรือการเซ่นสรวงบูชาวิญญาณบรรพบุรุษ
ใบเสมากับประเพณีการสร้างบุญกุศลในพุทธศาสนา เนื้อหา            จากจากรึกที่พบบนใบเสมาหลายใบแสดงให้เห็นว่าใบเสมาเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีการสร้างบุญกุศลในพุทธศาสนา เช่น
จารึกวัดโนนศิลา ๑ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น มีข้อความว่า นี่คือบุญของชายและหญิง ชื่อ โกนะบุส โกมางทรง โกมางสุพาหุ โกมางเชรง ขอทั้งหมดจงมีชีวิตอยู่ในสมัยพระศรีอาริย์
จารึกวัดโนนศิลา ๒ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น มีข้อความส่า นี้คือการสร้างเสมา บุญของนะมหายุตทรงคฌะ? โกกุรุง โกปฌาย พรหม โกมาง เสมานี่...
             ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. รุ่งโรจน์  ธรรมรุ่งเรือง ได้กล่าวถึงลักษณะความเกี่ยวข้องระหว่างใบเสมากับการสร้างบุญกุศลไว้ ๒ ลักษณะ ได้แก่ ใบเสมาเป็นวัตถุของการสร้างบุญกุศล และใบเสมาเป็นพยานหลักฐานแห่งการสร้างสมบุญกุศล
          สำหรับในกรณีแรก ใบเสมาเป็นวัตถุแห่งการสร้างสมบุญกุศลได้แก่ การที่ใบเสมาหลายใบมีภาพสลักเล่าเรื่องพุทธประวัติ ชาดกหรือปูชนียวัตถุในพุทธศาสนาประดับไว้ ใบเสมาเหล่านี้ก็คือสิ่งที่พุทธศาสนิกชนสร้างขึ้นเพื่อหวังในบุญผลกุศลนั่นเอง นอกจากนี้การเป็นเจ้าภาพหรือมีส่วนช่วยทำให้ใบเสมาเพื่อล้อมรอบอุโบสถ ก็น่าจะอยู่ในขอบข่ายวัตถุแห่งการสร้างสมบุญกุศลด้วย
         สำหรับในกรณีที่ ๒ ใบเสมาเป็นพยานหลักฐานแห่งการสร้างสมบุญกุศล ได้แก่ การที่ใบเสมาหลายใบมีขนาดเล็ก ไม่มีภาพสลักเล่าเรื่องใดๆ หรือทำเป็นเพียงเส้นนูนที่กึ่งกลาง หรือทำเป็นรูปเครื่องบวงสรวงบูชา และโดยเฉพาะอย่างย่างคำว่าจารึกว่าเป็นบุญกุศลของผู้ใด ใบเสมาเหล่านี้ส่วนใหญ่มีการตกแต่งมากสุดก็เพียงแต่แนวเส้นนูนที่กึ่งกลางเท่านั้นจึงเกิดข้อสงสัยว่าใบเสมาเหล่านี้ไม่น่าจะเป็นวัตถุแห่งการสร้างสมบุญกุศลไปได้จึงสันนิษฐานว่าใบเสมาบางใบสร้างขึ้นเพื่อเป็นพยานหลักฐานแห่งการสร้างสมบุญกุศลมากกว่าทำหน้าที่เสมือนประกาศหรือบันทึกที่ให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์รับรู้ในบุญกุศลที่ทำลงไป เป็นพยานหลักฐานที่คงอยู่เป็นนิรันดรหรืออย่างน้อยก็อยู่ได้นานกว่าคำอธิษฐานจิต จากนั้นจึงนำไปปักไว้ในเขตศักดิ์สิทธิ์ประจำชุมชนใบเสมาแต่ละใบปักไว้ไม่พร้อมกันเพราะกิจกรรมงานบุญย่อมมีเป็นจำนวนมากจึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ใบเสมาในบางบริเวณปักไม่เป็นระเบียบ ไม่มีทิศทางแน่นอน
ใบเสมาเล่าเรื่องพุทธประวัติ จากเมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น

ใบเสมาตอน ทรงพบพญนาคมุจลินทร์ พบที่เนินดินโรงเรียนฟ้าแดดสงยางวิทยาคม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
                    ใบเสมากับพิธีกรรมหลังความตาย  หลักฐานในการพิจารณาว่าใบเสมาเกี่ยวข้องกับการอุทิศบุญกุศลหรือบวงสรวงบูชาวิญญาณผู้ล่วงลับนั้น ได้แก่การที่ใบเสมาหลายแห่งปักอยู่บนเนินดิน ที่เกี่ยวข้องกับพิธีปลงศพเข้าใจว่าความเชื่อหนึ่งของผู้คนในอดีตคือผู้ตายจะเปลี่ยนสถานภาพและบทบาทไปจากครั้งที่ยังมีชีวิตเช่นกลายเป็นผีที่สามารถให้คุณให้โทษแก่คนที่ยังมีชีวิตได้จึงเกิดลัทธิหรือประเพณีบูชาบรรพบุรุษหรือผู้ตายขึ้น
              ใบเสมาที่ปักอยู่บนเนินดินที่เกี่ยวข้องกับพิธีปลงศพอาจจะไม่ได้เป็นเครื่องบวงสรวงโดยตรงแต่ทำหน้าที่คล้ายใบเสมาที่เป็นหลักฐานของการสร้างสมบุญกุศลแต่เปลี่ยนเป็นใบเสมาที่เป็นหลักฐานอันนิรันดรว่าได้มาบวงสรวงบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้ว อย่างไรก็ตามการบวงสรวงบูชาวิญญาณผู้ตายในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เช่นนี้ ไม่จำเป็นต้องตัดขาดกับประเพณีทางพุทธศาสนาโดยสิ้นเชิง เปรียบได้กับประเพณีศพในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาตั้งแต่แรกเสียชีวิต ฌาปนกิจ จนถึงการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลที่ต่อผู้ตายจึงอาจตั้งเป็นข้อสังเกตได้ว่าบางครั้งอาจมีประเพณีพุทธศาสนาเช่น การอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลต่อผู้ล่วงลับ กระทำการบนเนินดินเหล่านี้ ก็เป็นได้ใบเสมาบนเนินดินนี้จึงเปรียบเหมือนพยานหลักฐานในโอกาสที่ได้มาอุทิศ บุญกุศลนั่นเอง 
        ใบเสมาในฐานะสิ่งสักการบูชา
           รองศาสตราจารย์ศรีศักร  วัลลิโภดม ตั้งข้อสังเกตว่าใบเสมาหลายใบมีขนาดสูงใหญ่น่าจะอยู่ในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำหรับสักการบูชา ที่สมบูรณ์ในตัวเอง ทำหน้าที่เช่นเดียวกับปูชนียวัตถุสถานอื่นๆในพุทธศาสนา เช่น พระพุทธรูป สถูป เจดีย์เป็นต้น เมื่อพิจารณาจากภาพสลักและตำแหน่งการปักของใบเสมาบางแห่ง ผนวกกับประเพณีการเคลื่อนย้ายใบเสมาไปประดิษฐาน ณ สถานที่ใหม่เพื่อสักการบูชาของคนในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นวัด สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชุมชนหรือศาลหลักเมืองทำให้ข้อสังเกต ดังกล่าวมีน้ำหนักเป็นอย่างยิ่ง
          ใบเสมาที่สลักพระพุทธรูปขนาดใหญ่น่าจะอยู่ในฐานะของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เทียบได้กับพระพุทธรูปได้โดยตรงและอาจตั้งคำถามต่อไปได้ว่าภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานก็อาจอยู่ในฐานะของสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำหรับสักการบูชาได้เช่นกันจึงทำให้พบใบเสมาที่มีภาพเล่าเรื่องปัก อยู่กึ่งกลางพื้นที่ประหนึ่งว่าเป็นพระพุทธรูปประธาน
          นอกเหนือไปจากการสลักพระพุทธรูปแล้วการสลักธรรมจักรบนใบเสมาก็คงส่งผลให้ใบเสมานั้นนั้นกลายเป็นปูชนียวัตถุการสักการบูชาใบเสมากลุ่มนี้แท้จริงแล้วก็คือการสักการบูชาธรรมจักรอันเป็นสัญลักษณ์ของพระธรรมคำสอนแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง๓๐ ผู้สร้างใบเสมาที่สลักปูชนียวัตถุก็คงเพื่อให้เป็นบุญเป็นกุศลเปรียบได้กับการสร้างปูชนียวัตถุสถานอื่นๆในพุทธศาสนา
          นอกจากนี้หากยอมรับว่าใบเสมาเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับการบูชาผีหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆที่ให้คุณให้โทษได้ก็อาจตั้งคำถามต่อไปว่าใบเสมาอาจถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้นด้วย เช่น ผีบรรพบุรุษ พระภูมิเจ้าที่ เป็นต้น
       รูปแบบของใบเสมาทวาราวดีภาคอีสาน
          วัสดุที่ใช้ทำใบเสมาส่วนใหญ่ได้แก่หินทรายศิลาแลงมีให้เห็นได้บ้างใบเสมาแยกย่อยได้หลากหลายรูปแบบแต่หากพิจารณาในภาพรวมสามารถแบ่งรูปทรงใบเสมาออกเป็นสามแบบได้แก่แบบหินธรรมชาติซึ่งไม่ได้ขัดแต่งให้เป็นระเบียบแบบแผนนัก แบบแผ่นแบนซึ่งพบได้แพร่หลายที่สุดและแบบแท่งซึ่งมีตั้งแต่แท่งสี่เหลี่ยมจนถึงหลายเหลี่ยม
ใบเสมาแท่งสี่เหลี่ยม จากอำเภอกุฉินารายณ์ จงวัดกาฬสินธุ์ ณ พิพิธสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
                    ใบเสมาส่วนใหญ่ไม่นิยมประดับลวดลายหรือภาพใดใดแต่หลายใบก็มีภาพหรือลวดลายที่สวยงามประดับอยู่โดยใบเสมาแต่ละกลุ่มใบเสมาแต่ละใบมีภาพหรือลวดลายแตกต่างกันออกไปบางแบบพบได้แพร่หลายไปทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือแต่บางแบบจำกัดเฉพาะในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเท่านั้นรายละเอียดดังนี้
ใบเสมาสลักเป็นสันนูนอยู่ตรงกลาง ที่บ้านกุดโง้ง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
การประดับตกแต่งที่พบได้ทั่วไป
              จากการสำรวจใบเสมาในพื้นที่ต่างๆพบว่าภาพหรือลายประดับตกแต่งบนใบเสมาที่พบแพร่หลายไปทั่วได้แก่ภาพหม้อต่อด้วยกรวย ซึ่งเป็นรูปเครื่องบวงสรวงและเส้นนูนภาพผ่านกลางใบเสมา
ภาพหม้อต่อด้วยกรวย หรือภาพเครื่องบวงสรวง
             ภาพสลักรูปหม้อต่อด้วยกรวยมักได้รับคำอธิบายว่าเป็นสถูปที่แบ่งได้เป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนล่างเป็นหม้อส่วนบนเป็นกรวยคล้ายยอดพระเจดีย์๓๑ นอกจากนี้ยังมีบางท่านตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะหมายถึงหม้อปูรณฆฏะ หรือหม้อน้ำแห่งความอุดมสมบูรณ์อีกด้วย ๓๒ ซึ่งคำอธิบายทั้งสองเป็นที่แพร่หลายและได้รับการยอมรับกันโดยทั่วไป 
ใบเสมาที่สลักเป็นหม้อต่อด้วยกรวย ที่บ้านกุดโง้ง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
           อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบรูปแบบของหม้อต่อด้วยกรวยบนใบเสมาหลายใบ ทำให้เชื่อว่ารูปดังกล่าวนี้จะน่าจะเป็นการถ่ายทอดรูปเครื่องบวงสรวงบูชาของจริงมาประดับไว้เทียบได้กับกรวยหรือบายศรีที่ใช้ใส่เครื่องเซ่นสังเวยประเภทอาหารคาวหวาน หรือข้าวตอก ดอกไม้ตามพิธีกรรมต่างๆ ในปัจจุบันเพียงแต่คนในสมัยทวารวดีนิยมใช้หม้อเป็นภาชนะบรรจุเครื่องบูชาแต่ปัจจุบันนิยมใช้ทำพานหรือกระทง
       องค์ประกอบโดยละเอียดของภาพสลักกลุ่มนี้แตกต่างกันออกไปในใบเสมาแต่ละใบโดยแยกเป็นกลุ่มสำคัญได้ดังนี้
           ๑. หม้อใบเดียวต่อด้วยกรวย โดยส่วนใหญ่ไม่มีการประดับตกแต่งใดๆ บางใบมีการตกแต่งปากกรวยด้วยลวดลายคล้ายใบไม้ บางใบมีลวดลายประดับตกแต่งที่หม้อหรือกรวยเพิ่มเติมขึ้น ที่น่าสนใจคือใบเสมาแผ่นหนึ่งจากบ้านหนองห้าง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น ทำหม้อมีกรวยครอบด้วยกรวย
           ๒. หม้อซ้อนกันหลายใบต่อด้วยกรวยโดยอาจมีการประดับตกแต่งเพิ่มเติมหรือไม่มีก็ได้ ส่วนภาพหม้อซ้อนชั้นซึ่งควรบรรจุเครื่องเซ่นประเภทอาหาร หรือดอกไม้บูชาไว้ภายในเช่นกันต่อด้วยกรวยแหลมปิดปากหม้อเทียบได้กับบายศรีต้นหรือบายศรีใหญ่ในปัจจุบัน 
            จุดแตกต่างหลักมีเพียงในสังคมไทยในปัจจุบันคุ้นเคยกับการนำเครื่องเซ่นใส่กระทงหรือชามแล้วครอบด้วยกรวย ในขณะที่สังคมทวารวดีนำเครื่องเซ่นใส่ไว้ในหม้อแล้วครอบด้วยกรวยคงเป็นแบบแผนที่สืบเนื่องจากการนำเครื่องเซ่นสังเวยบรรจุในหม้อ ตามที่พบในหลุมฝังศพสมัยก่อนประวัติศาสตร์และเห็นได้ในวัฒนธรรมอินเดีย ที่มีมาแต่อดีตซึ่งยังคงทำสืบกันมาจนปัจจุบัน โดยในวัฒนธรรมอินเดียอาจมีความเกี่ยวข้องกับการเป็นสัญลักษณ์มงคลเพื่อใช้ในงานพิธีเพิ่มเติมด้วย
ใบเสมาสลักรูปหม้อเหยือกต่อด้วยกรวย ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
           การประดับตกแต่งแบบพิเศษของแต่ละพื้นที่
           ใบเสมาในแต่ละพื้นที่มีการประดับตกแต่งที่แตกต่างกันออกไป เป็นที่น่าสงสัยว่าความแตกต่างดังกล่าวอาจจะสะท้อนให้เห็นถึงขอบเขตทางวัฒนธรรมย่อยที่แตกต่างกัน อันอาจสะท้อนต่อไปว่า เมืองในวัฒนธรรมทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนืออาจมีศูนย์กลางทางวัฒนธรรมมากกว่าหนึ่งเมือง
           หากแบ่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามลุ่มน้ำ คือลุ่มน้ำมูล ลุ่มน้ำชี และลุ่มน้ำโขงจะพบว่าใบเสมาแต่ละลุ่มน้ำมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างกันออกไปโดยแต่ละลุ่มน้ำมีรูปแบบหลักที่น่าสนใจดังนี้
            ใบเสมาลุ่มน้ำมูล พื้นที่ลุ่มน้ำมูลคือจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และพื้นที่ตอนล่างของอุบลราชธานีค้นพบใบเสมาได้น้อยกว่าพื้นที่อื่นๆของภาคอีสาน ทั้งนี้คงเป็นเพราะบริเวณนี้มีความใกล้ชิดกับการเมืองการปกครองและวัฒนธรรมจากประเทศกัมพูชามากกว่ารูปแบบการประดับตกแต่งที่พบได้มากที่สุดเป็นเช่นเดียวกันกับพื้นที่อื่นๆของภาคอีสานคือการทำเส้นนูนพาดผ่านกลางใบเสมาหรือทำหม้อต่อด้วยกรวยยาว 
            ส่วนรูปแบบการประดับตกแต่งที่เป็นพิเศษอันแตกต่างไปจากพื้นที่อื่นจนกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะเฉพาะของพื้นที่มีตัวอย่างไม่มากนัก หนึ่งในนั้นได้แก่ใบเสมาบนยอดภูพระอังคารอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งทำประติมากรรมบุคคล ๑ คน  ในอิริยาบถยืนประดับบนใบเสมาอย่างเต็มพื้นที่พระพักตร์เป็นส่วนที่ได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ ส่วนพระองค์เป็นของดั้งเดิม สวมผ้านุ่งที่ละม้ายกับภาพสลักประติมากรรมบุคคลบนใบเสมาทวารวดีอื่นๆที่มีผ้าพับปลายขนาดใหญ่จนดูคล้ายถุงเป็นองค์ประกอบสำคัญ
              ใบเสมาลุ่มน้ำชีพื้นที่ลุ่มน้ำชี ตั้งแต่จังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่นมหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด จนถึงบริเวณคาบเกี่ยวกับลุ่มน้ำมูลตอนปลาย คือจังหวัดยโสธรและอำนาจเจริญเป็นพื้นที่ที่ค้นพบใบเสมาได้หนาแน่นมาก  สำหรับการประดับตกแต่งแบบพิเศษของใบเสมา ลุ่มน้ำชีคือภาพเล่าเรื่องในพุทธประวัติและชาดกแบบเต็มแผ่น เมืองสำคัญที่ค้นพบใบเสมาสลักภาพเล่าเรื่องเช่นนี้จำนวนมากที่สุดคือเมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ รูปแบบทำนองเดียวกันนี้ได้ค้นพบในจังหวัดอื่นๆในเขตลุ่มน้ำชีด้วย เช่น ใบเสมาที่บ้านกุดโง้ง  อำเภอเมือง  จังหวัดชัยภูมิ ใบเสมาที่บ้านคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ ทั้งสองแห่งเป็นตัวอย่างที่ดีของใบเสมาสลักภาพเล่าเรื่องเต็มแผ่นของลุ่มน้ำชีตอนต้น ใบเสมามาจากวัดบึงขุมเงิน อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีของใบเสมาสลักภาพเล่าเรื่องเต็มแผ่นของลุ่มน้ำชีตอนปลาย
ใบเสมาสลักเรื่องราวชาดกที่บ้านกุดโง้ง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
บเสมา ที่มีภาพสลักเล่าเรื่องในพุทธศาสนาเต็มแผ่นเป็นรูปแบบที่พบได้ทั่วไปในพื้นที่ลุ่มน้ำชีแต่ขณะเดียวกันก็พบว่าลวดลายสลักบางแบบนิยมเฉพาะพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งของลุ่มน้ำชีเท่านั้น เช่นการทำลวดลายกระหนกวงโค้ง หรือทำขอบนอกของใบเสมาเป็นวงโค้งต่อเนื่องนิยมในบริเวณต้นลุ่มน้ำชี มีตัวอย่างที่บ้านพันลำ ตำบลสระโพนทอง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ เมืองชัยวาน ตำบลโพธิ์ชัย อำเภอโคกโพธิ์ชัย จังหวัดขอนแก่นเป็นรูปแบบที่คล้ายคลึงกันกับใบเสมาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ซึ่งนายอำเภอโนนสูงจังหวัดนครราชสีมามอบให้
           นอกจากนี้ การสลักกลีบบัวซ้อนหลายชั้นก็นับได้ว่าเป็นลวดลายพิเศษที่พบมากในเขตจังหวัดชัยภูมิตัวอย่างเช่นใบเสมาที่บ้านกุดโง้ง อำเภอเมือง ใบเสมาที่บ้านพันลำ อำเภอเกษตรสมบูรณ์
การสลักใบเสมากลีบบัวซ้อนที่บ้านกุดโง้ง
                 สำหรับภาพสลักแบบพิเศษอันเป็นที่แพร่หลายในพื้นที่ปลายลุ่มน้ำชี จังหวัดยโสธร อำนาจเจริญ และตอนบนของอุบลราชธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ต่อเนื่องไปยังลุ่มน้ำมูลตอนปลาย ได้แก่ ภาพธรรมจักร แมวว่าไปเสมาสลักภาพธรรมจักรจะมีการค้นพบในพื้นที่อื่นๆแต่พื้นที่นี้พบได้หนาแน่นกว่าพื้นที่อื่นอย่างเห็นได้ชัดเช่น วัดสุปัฏนาราม อำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี วัดโพธิ์ศรีมงคล บ้านตาดทอง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร  วัดบึงคุ้มเงิน อำเภอเมืองจังหวัดยโสธร วัดดงเฒ่าเก่า บ้านหนองเรือ ตำบลนาหนองม้า อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ วัดโพธิ์ศรี บ้านเปลือยหัวดง ตำบลเปลือยอำเภอลืออำนาจจังหวัดอำนาจเจริญ
           เป็นที่น่าสังเกตว่าเสาธรรมจักรมักรองรับด้วยหม้อลำตัวเสามักมีขนาดใหญ่และสอบเล็กลงที่ส่วนปลายเป็นรูปแบบที่ทำให้นึกถึงภาพเครื่องบวงสรวง ประเภทหม้อใบเดียวต่อด้วยกรวยยาวเป็นอย่างยิ่ง   จนอาจกล่าวได้ว่าทั้งสองมีองค์ประกอบภาพเดียวกัน เพียงแต่เพิ่มธรรมจักรเข้ามาเท่านั้นเอง
            นอกจากนี้ตำแหน่งของธรรมจักร วงกลมยังมีทางที่วางอยู่บนสุดของเสาหรือวางอยู่กลางค่อนไปทางด้านบนของเสาด้วย ซึ่งแตกต่างไปจากวัฒนธรรมทวารวดีภาคกลาง ที่ทำธรรมจักรไว้ที่ยอดเสาเท่านั้น
            ใบเสมาลุ่มน้ำโขง ลุ่มน้ำโขงในความหมายนี้มีพื้นที่ครอบคลุมจังหวัดเลย อุดรธานี หนองคายบึงกาฬ สกลนคร มุกดาหาร ลักษณะเด่นของลวดลายหรือภาพบนใบเสมาบริเวณลุ่มน้ำโขงซึ่งแตกต่างไปจากลุ่มน้ำอื่นอย่างชัดเจนที่สุด ได้แก่อิทธิพลจากศิลปะเขมรสมัยเมืองพระนคร แม้ว่าการปะปนกับศิลปะเขมรจะพบได้ในลุ่มน้ำอื่นๆแต่ใบเสมาจากพื้นที่นี้พบการปะปนผสมผสานกับศิลปะเขมรได้หนาแน่นมาก
         ภาพบุคคลแต่งกายตามแบบศิลปะเขมรยังปรากฏบนใบเสมาจากอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เช่นบริเวณบวชพระปู่ใกล้พระพุทธบาทบัวบานและวัดโนนศิลาอาสน์นักวิชาการบางท่านเสนอว่าภาพบุคคลบนใบเสมากลุ่มนี้แต่งกายคล้ายประติมากรรมในศิลปะเกราะแกร์ อย่างไรก็ตามใบเสมาบางใบกลับมีลักษณะผ้านุ่งที่ใกล้เคียงกับศิลปะนครวัดมากกว่าเพราะใช้ผ้าที่พับย้อนออกมาเป็นวงโค้งบริเวณอุทรมีเพียงฟากเดียวเทียบได้กับชายผ้าของประติมากรรมที่ปราสาทพิมาย ศิลปะนครวัด
            เป็นที่น่าสังเกตด้วยว่าภาพสลักบนใบเสมาที่วัดโนนศิลาอาสน์และบวชพระปู่ประดับเฉพาะบริเวณโคนเท่านั้นมิได้ประดับเต็มแผ่นเช่นเดียวกับลุ่มน้ำชีนอกจากนี้หลายใบมีความสูงมากกว่า ๓ เมตรจนกล่าวได้ว่าเป็นกลุ่มใบเสมาที่มีความสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ
          จากข้อมูลทั้งหมดที่ได้นำมาเสนอกล่าวได้ว่าใบเสมาทวารวดีอีสานเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนโบราณในภาคอีสาน โดยใบเสมาของแต่ละพื้นที่รูปแบบก็จะแตกต่างกันไป อันแสดงให้เห็นว่าใบเสมาทวารวดีอีสานมีความหลากหลาย หากแต่ไม่ได้สร้างขึ้นจากคติความเชื่อทางพุทธศาสนาอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังคงมีความสัมพันธ์กับความเชื่อดั้งเดิมของแต่ละท้องถิ่น อีกด้วย




อ้างอิงหลักจากหนังสือ
           รุ่งโรจน์  ธรรมรุ่งเรือง.  ทวารวดีในอีสาน.กรุงเทพมหานคร : มติชน, ๒๕๕๘
           วชิราภรณ์  ไชยชาติ.  นำชมใบเสมาพิพิธภณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น.กรุงเทพมหานคร : อรุณการพิมพ์, ๒๕๕๒

 อ้างอิงจากในหนังสือ 
ศรีศักร วัลลิโภดม, “เสมาหินอิสาน การสำรวจและศึกษาการสืบเนื่องของประเพณีหินตั้งในสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,”เมืองโบราณ ๑๑,๔ (ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๒๘) : ๖,๗
ศรีศักร วัลลิโภดม, “เสมาอิสาน,”เมืองโบราณ ๑,๒(มกราคม-มีนาคม ๒๕๑๘) : ๑๑๒
           กรมศิลปากร,”จารึกสถาปนาสีมา”ใน จารึกประเทศไทย เล่ม ๑ อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔(กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร,๒๕๒๙),น.๒๗o-๒๘๓
           ชะเอม แก้วคลาย,”จารึกบ้านกู่จาน หลักฐานพุทธศาสนามหายานในพุทธศตวรรษที่ ๑๒,”ศิลปากร ๔๒,๔ (กรกฎคม-สิงหาคม ๒๕๔๒) : ๙๓.
พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรค ภาค ๑  และอรรถกถา (กรุงเทพฯ : มหามงกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๒๕), น. ๔๑o-๔๑๑
ทั้งนี้ไม่ควรลืมว่าจำนวนนิมิตที่บอกเขตขัณฑสีมาหรือมหาสีมาต้องมี ๓ นิมิตเป็นขั้นต่ำ เพราะสามารถชักเป็นแนวล้อมรอบได้ ขั้นสูงไม่กำหนด ดังนั้นในทางปฏิบัติจำนวนนิมิตของขัณฑสีมากับมหาสีมาอาจไม่เท่ากันก็ได้ และไม่จำเป็นต้องตั้งในแนวตรงกันเสมอไป
พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรค ภาค ๑  และอรรถกถา (กรุงเทพฯ : มหามงกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๒๕), น. ๔๑o-๔๑๑
วชิราภรณ์ ไชยชาติ, นำชมใบเสมาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น, น.๓๒-๓๓.
ผาสุข อิทราวุธ, รายงานการขุดค้นเมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกลมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ (นครปฐม : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๔), น.๑๔-๑๖.
สุรพล ดำริห์กุล, แผ่นดินอิสาน (กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๔๙),น. ๔o-๔๕.
ศรีศักร วัลลิโภดม, “เสมาหินอิสาน การสำรวจและศึกษาการสืบเนื่องของประเพณีหินตั้งในสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,”เมืองโบราณ ๑๑,๔ (ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๒๘) : ๑๗
อุไรศรี วรศะริน, “จารึกภาษามอญบางหลักในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”ใน ดินแดนไทยจากยุคประวัติศาสตร์ตอนต้นจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ (กรุงเทพฯ :  มหาวิทยาลัยศิลปากร ,เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติฝรั่งเศส-ไทย ครั้งที่ ๑, ๒๕๓๑), น.๕o๗. อย่างไรก็ตาม ทิม มีเต็ม และจำปา เยื้องเจริญ อ่านและแปลแตกต่างกันออกไปเล็กน้อย ดังนี้ “ระโว (พร้อมด้วย) ชานมะระนามกับสมุส (อุทิศ) บุญนี้ห้แก่ชายทะรง ชายสุพาหุ ชายมะรัง ขอบุญนี้ (จง) นำส่งให้ไปทันต่อพระพุทธอารยะเมตตรัย เทอญ” ดูใน กรมศิลปากร, “จารึกใบเสมาวัดโนนศิลา ๑”ใน จารึกประเทศไทย เล่ม ๒ (กรุงเทพฯ กรมศิลปากร, ๒๕๒๙), น.๖๗-๗๒.
อุไรศรี วรศะริน, “จารึกภาษามอญบางหลักในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”ใน ดินแดนไทยจากยุคประวัติศาสตร์ตอนต้นจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ (กรุงเทพฯ :  มหาวิทยาลัยศิลปากร ,เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติฝรั่งเศส-ไทย ครั้งที่ ๑, ๒๕๓๑), น.๕o๘. อย่างไรก็ตาม ทิม มีเต็ม และจำปา เยื้องเจริญ อ่านและแปลแตกต่างกันออกไปเล็กน้อย ดังนี้ “พราหมณ์มหายุตขอ (อุทิศ) ผลกรรม (แห่ง) บุญนี้ (ให้) แก่ระสา ผู้เป็นเชื้อสายของพรหมกับชาย...ผู้เป็นญาติ”ดูใน กรมศิลปากร, “จารึกใบเสมาวัดโนนศิลา ๒”ใน จารึกประเทศไทย เล่ม ๒ (กรุงเทพฯ กรมศิลปากร, ๒๕๒๙), น.๗๓-๗๖.
อุไรศรี วรศะริน, “จารึกภาษามอญบางหลักในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”ใน ดินแดนไทยจากยุคประวัติศาสตร์ตอนต้นจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ (กรุงเทพฯ :  มหาวิทยาลัยศิลปากร ,เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติฝรั่งเศส-ไทย ครั้งที่ ๑, ๒๕๓๑), น.๕o๙.
ก่องแก้ว วีระประจักษ์, “จารึกใบเสมาบ้านพันนา,” ศิลปากร ๕o,๒ (มีนาคม-เมษายน ๒๕๕o) : ๕๗.
เกี่ยวกับภาพสลักบนใบเสมาเครื่องบวงสรวงบูชาดูรายละเอียดได้ในหัวข้อ “เครื่องบวงสรวงบูชา”ในบทที่ ๓ พุทธศาสนาแบบทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทั้งนี้ข้อความในอดีตอาจมีมากกว่านี้ แต่ปัจจุบันลบเลือนจนไม่เห็นหรืออ่านไม่ได้แล้ว
ปรานี วงษ์เทศ,พิธีกรรมเกี่ยวกับการตายในประเทศไทย (กรุงเทพฯ :  มหาวิทยาลัยศิลปากร ,๒๕๓๔), น.๕-๖.
รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง, “เครื่องบวงสรวงบนใบเสมาทวารวดีอิสาน : พุทธบูชาและบูชาผี,” ศิลปากร ๕๒,๔ (กรกฎาคม-สิงหาคม ๒๕๕๒) : ๕๑-๖๓.
ศรีศักร วัลลิโภดม, “เสมาอิสาน,”เมืองโบราณ ๑,๒ (มกราคม-มีนาคม ๒๕๑๘) : ๑๑๒.
ดูตัวอย่างงานที่อธิบายภาพสลักหม้อน้ำมีกรวยแหลมว่าเป็นสถูปได้ใน ศรีศักร วัลลิโภดม, เสมาอิสาน,”เมืองโบราณ ๒,๒ (มกราคม-มีนาคม ๒๕๑๘) : ๙o.
อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับแนวความคิดว่าภาพสลักหม้อน้ำต่อด้วยกรวยเป็นภาพเครื่องบวงสรวงบูชาได้ใน รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง, “เครื่องบวงสรวงบนใบเสมาทวารวดีอิสาน : พุทธบูชาและบูชาผี,” ศิลปากร ๕๒,๔ (กรกฎาคม-สิงหาคม ๒๕๕๒) : ๕o-๖๓.
หม่อมราชวงศ์สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, “ใบเสมาสลักเรื่องรามายณะ การเปลี่ยนแปลงคติและรูปแบบจากศิลปทวารวดีสู่ศิลปะแบบเขมรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,” เมืองโบราณ ๑๗,๑ (มกราคม-มีนาคม ๒๕๓๔) : o๕-๑๑o. และรุงโรจน์ ภิรมย์อนุกูล, “ใบเสมาเรื่องศิพิชาดก ร่องรอยพุทธศาสนามหายานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน,” เมืองโบราณ ๒๘,๓ (กรกฎาคม-กันยายน ๒๕๔๕) :o๒-๑o๗.